การดำรงอยู่ของซอไทย ในสภาพสังคมและวัฒนธรรมปัจจุบัน

Main Article Content

วีรวัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชย
พิชญ์วัฒณ์ โสภณปัญญารัศมิ์

บทคัดย่อ

                ทุกสิ่งในโลกต้องมีการวิวัฒน์เพื่อปรับตัวให้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเสมอ ซอไทย หนึ่งในเครื่องดนตรีเชิงวัฒนธรรมของไทยเป็นอีกเครื่องดนตรีหนึ่งที่กำลังเผชิญกับความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากต้องสร้างการดำรงอยู่ให้เข้ากับสถานการณ์ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมดนตรีไทยตามจารีตประวัติศาสตร์เพื่อให้ผู้สืบทอดรู้คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้เป็นฐานคิดที่สำคัญยิ่งของวัฒนธรรมดนตรีไทย หากแต่ปัจจุบันนั้น ผู้ฟัง ความนิยมชมชอบและการตอบรับจากผู้ฟังเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสนับสนุนวงการดนตรีในทุกประเภท ดังนั้น การหาหนทางที่ประสานทั้งแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมกับแนวคิดการปรับตัวให้เข้ากับบริบทยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจึงมีความท้าทายอย่างมาก เพราะต้องประสานแนวคิดเชิงประยุกต์เพื่อให้คงอยู่ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป โดยยังต้องรักษาอัตลักษณ์ของซอไทยไว้ในคราวเดียวกัน บทความวิชาการนี้มีเป้าหมายเพื่อทบทวนข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสาเหตุที่ท้าทายการดำรงอยู่ของดนตรีไทยผ่านเรื่องราวของซอไทย เพื่อสืบหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการรักษาและสืบทอดอัตลักษณ์ของซอไทยทั้งในระดับจุลภาคอย่างครอบครัวไปจนถึงระดับมหภาคอย่างภาครัฐ ผ่านกรอบแนวคิดปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การเสนอแนวทางให้ซอไทยและดนตรีไทยยังคงอยู่คู่ชาติไทยตราบนานเท่านาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คมชัดลึกออนไลน์. (2555, 31 พฤษภาคม). โลกเปลี่ยนไป ดนตรีไทยก็เปลี่ยนแปลง 3. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/entertainment/131588.

ณรงค์ เขียนทองกุล. (2541). ความเชื่อกับดนตรีไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 6(1), 44-56.

ปราโมทย์ เที่ยงตรง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษากลุ่มโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 150-160.

เพชรดา เทียมพยุหา, มานพ วิสุทธิแพทย์, และกาญจนา อินทรสุนานนท์. (2557). การศึกษาดนตรีร่วมสมัย: กรณีศึกษาวงกำไล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 69-88.

มติชนออนไลน์. (2563, 26 สิงหาคม). (คน) ดนตรีไทย ขนบเก่า ในโลกใหม่ ความท้าทายแห่งยุคนิวนอร์มอล. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_2258020.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิสุทธิ์ ไพเราะ. (2557). การบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(27), 16-27.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). ดนตรีไทย. สืบค้นจาก https://www.saranukromthai.or.th/Ebook/BOOK1/pdf/book1_1.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2551). ความหมายวัฒนธรรม. สืบค้นจาก http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=5&DD=16.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). สิบสองภาษา สำเนียงเพื่อนบ้าน. ปทุมธานี: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพล สุวรรณ. (2549). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bogen, S. A. (2019). A History of non-Western bowed instruments. A look into the Eastern history of the modern-day violin. Retrieved from https://digitalcommons.liu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1057&context=post_honors_theses.

Britannica. (2019). Fiddle. Retrieved from https://www.britannica.com/art/fiddle.

Britannica. (2021). Guitar. Retrieved from https://www. britannica.com/art/guitar.

Cornwel-Smith, P., & Goss, J. (2013). Very Thai: Everyday popular culture. Bangkok: River Books.

Korean Traditional Performing Arts Foundation. (2011). Haegeum: Two string fiddle. South Korea: Korean Traditional Performing Arts Foundation.

Lertworaruttikul, P. (2008). Attitude of Thai teenagers towards Thai classical music (2007). Bangkok: Language Institute, Thammasat University.

Liang, T. P. (1970). Chinese musical instruments & pictures: Edited by Tsai-ping Liang. Taiwan: Chinese Classical Music Association.

Miller, T. (2010). Appropriating the exotic: Thai music and the adoption of Chinese elements. Asian music, 41(2), 113-148.

Nye, J. S. (2009). Soft power: The means to success in world politics. USA: Public Affairs.

Wagner, R., & Ingold, T. (2016). The invention of culture. USA: University of Chicago Press.