The Study of Solar Screen from Palmyra Fiber

Main Article Content

Janejira Khunthong

Abstract

บทคัดย่อ


        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผ่นกรองแสงรูปแบบใหม่จากใยทางตาลโตนด เพื่อลดความส่องสว่างของแสงที่ผ่านเข้ามาในช่องเปิดอาคาร ใยทางตาลโตนดเป็นเส้นใยสีน้ำตาลที่มีเปลือกภายนอกปกคลุมอยู่ ถูกนำมาคัดแยกทำความสะอาดเพื่อการขึ้นรูปเป็นแผ่นตัวอย่าง ขนาดกว้าง 0.30 x ยาว 0.60 x สูง 1.20 เมตร มีแผ่นรองรับที่ช่วยในการขึ้นรูปตาข่ายร่อนทราย ตาข่ายมุ้งลวดและ ตาข่ายเหล็กโดยในแต่ละแผ่นตัวอย่างกำหนดน้ำหนักเส้นใยทางตาลโตนด 250 กรัมซึ่งถูกนำไปติดตั้งบริเวณหน้าต่างในสภาวะแวดล้อมจริงเพื่อทดสอบเปรียบเทียบความส่องสว่างกับหน้าต่างที่ไม่มีเส้นใยทางตาลโตนด ผลการทดสอบด้านปริมาณความส่องสว่างพบว่าแผ่นกรองแสงจากใยทางตาลโตนดมีประสิทธิภาพในการลดปริ มาณความส่องสว่างของแสงจากภายนอกได้ เมื่อทดสอบในช่วงเวลาเดียวกันพบว่าตัวอย่างแบบที่ 1 ไม่มีม่านหรือสิ่งใดๆ แบบที่ 2 ม่านปรับมุมมีการปรับองศาของม่านอยู่ที่ 90 องศา แบบที่ 3 ม่านปรับมุมมีการปรับองศาของม่านอยู่ที่ 180 องศา และแบบที่4 แผ่นกรองแสงจากใยทางตาลโตนดวัดค่าแสงส่องผ่านได้ 5030 Lux คิดเป็น 50.30% 4700 Lux คิดเป็น 47% 500 Lux คิดเป็น 5% และ 570 Lux คิดเป็น 5.70% ตามลำดับ แผ่นกรองแสงจากใยทางตาลโตนดของงานวิ จัยนี้ไม่เพียงป้องกันแสงที่ส่องผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังสามารถมองเห็นบรรยากาศภายนอกและช่วยระบายอากาศให้กับตัวอาคารได้ดีกว่าม่านปรับมุมหรือม่านชนิดอื่นๆ ที่มีตามท้องตลาดที่ไม่สามารถมองเห็นและไม่สามารถ ระบายอากาศหรือให้ลมพัดผ่านได้


ำสำคัญ: แผ่นกรองแสง ใยทางตาลโตนด การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


Abstract


        This research aims to study the new solar screen made from Palmyra fiber to reduce the daylight coming through the building’s openings. Palmyra fiber a brown fiber with an outer shell covered, were cleaned, dried and molded with the size of 0.30 m width. x 0.60 m. length x 1.20 m. height. The selected molding sheets were 1) a sand sieve mesh, 2) a Mosquito wire mesh, and 3) steel mesh. The weight of the Palmyra fiber of each sample screen was specified at 250 grams. The samples were installed in situ on windows to test and compare the daylight luminosity between tested windows with palmyra screen and normal windows. As the results of luminosity testing, it was found that solar screen made from Palmyra fiber had an efficiency to remount of daylight from the outside. Tested at specific time of the day, the measurement of daylight - luminosity of samples: Type 1 - without blind or anything, Type 2 - a 90-degree angle blind, Type 3 - a 180-degree angle blind, and Type 4 - solar screen from Palmyra fiber, were 1) 5030 Lux accounted for 50.30%, 2) 4700 Lux accounted for 47%, 3) 500 Lux accounted for 5% and 4) 570 Lux accounted for 5.70%, respectively.The screen from Palmyra fiber invented in this research was not only efficiently prevented daylight - luminosity coming through windows, but also allowed people living inside the building to see outside views and provided better ventilation than other existing angle-blinds in the market.


Keywords: Optical Filter, Palmyra Fibers, Eco-friendly

Article Details

How to Cite
Khunthong, J. (2019). The Study of Solar Screen from Palmyra Fiber. Asian Creative Architecture, Art and Design, 29(2), 109–123. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169373
Section
Research Articles

References

กิติศักดิ์ คำโพธิ์ชา. (2555). แผ่นหลังคาโปร่งแสงจากฟางข้าวเคลือบเรซิ่นเพื่อการลดความร้อนสำหรับช่องแสงหลังคาอาคารในประเทศไทย. (ศึกษาค้นคว้าอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขานวัตกรรมอาคาร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เครือข่ายการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจไทย. (2550). หลักการของ EcoDesign. เข้าถึงได้จาก: https://www2.mtec.or.th/website/article_list.aspx?id=46&cate=26.

ป้องภัย อภิพันธุ์. (2557). การพัฒนาแผ่นกรองแสงจากรกมะขาม. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมอาคาร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ประภาพรรณ หมั่นทำ , อรพิม กาญจนรัตน์ และรชตะ ละม้ายอินทร์. (2549). การศึกษาสมบัติการกั้นเสียง สมบัติเชิงกล และสมบัติทางกายภาพของแผ่นใยไม้อัดจากใบสับปะรด และโฟมพอลิสไตรีน. (โครงงานพิเศษระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร).

ภิญโญ ชุมมณี. (2553). ทฤษฎีเกี่ยวกับแสงธรรมชาติ. เข้าถึงได้จาก: https://kb2tmp.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/2858/8/293034_ch2.pdf.

สมสิทธิ์ นิตยะ. (2541). การออกแบบอาคารสำหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา. (2542). ตาลโตนด. เข้าถึงได้จาก: https://puechkaset.com /ตาลโตนด/.

แหล่งเรียนรู้หัตถกรรมใยตาลสทิงพระ. (2560). กาบตาลโตนด. เข้าถึงได้จาก: https://sk.nfe.go.th/lb_stp/index.php?name=knowledge1&file=readknowledge&id=33.

อัคนีย์ สงวนศักดิ์ .(2554). แผ่นกรองแสงจากเส้นใยไผ่เพื่อการลดแสงจ้าและความร้อนเข้าสู่อาคาร. (ศึกษาค้นคว้าอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมอาคาร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

อัญชลี แท่นนิล, มาลินี ชัยศุภกิจสินธ์, อัญชิสา วงศ์สิลารัตน์ และโสภณา อภิชิตสกุลชัย. (2550). บทบาทของเส้นใยธรรมชาติต่อสมบัติของเส้นใยไม้อัดผสมระหว่างโฟมพอลิสไตรีนกับเส้นใย. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 42(2), 43-55.

Sherif, A. Sabry, H. and Rakha, T. ( 2012) . External Perforated Solar for Daylighting in Residential Desert Buildings: Identification of Minimum Perforation Percentages. Solar Energy Journals. 6(86), 1929-1940