The Decoding Signification in Architecture of Academic Institution Buildings in the Northeastern Region
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การสร้างอัตลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมสำหรับอาคารประเภทสถาบันการศึกษาในภาคอีสาน ขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกใช้สัญลักษณ์ของผู้ออกแบบและการสื่อสารไปยังผู้ใช้อาคาร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจรูปแบบของสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน 2) วิเคราะห์การรับรู้และการสื่อความหมายรูปแบบของสัญลักษณ์ 3) ถอดสัญลักษณ์ที่แสดงถึงแนวคิดในงานสถาปัตยกรรม กระบวนการวิจัยประกอบไปด้วย การสำรวจอาคารในสถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน 13 แห่ง ที่ใช้สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม นามาวิเคราะห์ระดับการใช้รูปสัญญะด้วยแบบสอบถาม 415 ชุด โดยนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบุคคลภายนอก และแบบสัมภาษณ์สถาปนิกและ นักวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรม ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ด้วยการมองเห็นต่อสัญลักษณ์ในอาคารของผู้ตอบคำถามมีความเข้าใจต่อสัญลักษณ์ของอาคารที่สื่อความเป็นอีสาน คือรูปทรงหลังคาที่เป็นแบบทรงจั่วและแบบทรงปราสาทขอมต้นแบบความเป็นอีสานที่เลือกมาใช้มากที่สุด คือบ้านพักอาศัยการถอดสัญลักษณ์จากแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกและนักวิชาการ พบว่ามี 3 ประเด็นคือ 1) การใช้สัญลักษณ์แปลความหมายจากบริบท การอุปมาอุปมัยของลักษณะสำคัญอีสาน 2) อัตลักษณ์อีสานเชิงรูปธรรม คือ หลังคาจั่วใต้ถุนสูงลวดลายผนัง 3) แนวทางการใช้สัญลักษณ์ผู้ออกแบบต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของอาคาร เพื่อใช้สัญลักษณ์ให้ปรากฏเป็นองค์รวม และต้องลดการหยิบยืมรูปแบบเดิมๆ เพื่อหาทาง สื่อสารจากต้นแบบด้วยภาษาของตนเองให้มากที่สุด สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบสัญญะทางสถาปัตยกรรม นาลักษณะต้นแบบ มาแทนด้วยสัญลักษณ์ในภาษาที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาจากเฮือนอีสาน ปราสาทหิน อาคารศาสนาเพื่อการจดจำได้ และการสร้างสัญลักษณ์ด้วยการลดหยิบยืมรูปแบบเดิมเพื่อสร้างภาษาสถาปัตยกรรมขึ้นใหม่ แต่ต้องไม่ขาดองค์ประกอบ หลักของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานต้นแบบ
คำสำคัญ: สัญวิทยา สถาปัตยกรรม สถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน
Abstract
Creating the identity for academic or institutional architecture in Thailand northeastern region (Isan) depends on the selection of significant symbols and ways of communication that a designer or an architect intend to deliver to the users. The objectives are to 1) explore significant symbolic patterns and forms presented in academic or institutional buildings in Thailand Northeastern region, 2) analyze the visual impact and interpretation of significant symbolic forms and patterns, and 3) decode significant symbolic forms and patterns reflecting Thai Isan signification. The research methods included on-site survey on the academic institutional buildings in thirteen academic institutes, which represented Isan signification. The perception of signification was analysed. Four hundred and fifteen questionnaires were used to ask students, teachers, support staff, and outsiders, and interview questionnaires were also used to inquire architects and scholars in architecture. The results of the study showed that the respondents understood the signification of buildings representing the northeast style, a gable roof and Khmer castle style. The prototype of Northeastern Region was the most selected residential (Huan-Isan). Decoding signification from the architectural design ideas revealed three key issues: 1) the use of interpretive signification from context and metaphors of key characteristics of Isan, 2) Isan identity in the form of gable roofs, high basements, and wall designs, and 3) the use of signification that architects must understand the purpose of the building in order to use the signification to represent Isan identity and reduce the use of original forms and patterns in order to build a way to communicate their own language as much as possible. In conclusion, the use of Isan architectural signatures requires simplification and straightforward language from Huan Isan, a stone castle, a religious building to increase people’s recognition and reduces using original forms to create a new architectural language. The architect also needs to aware the northeastern vernacular architectural language.
Keywords: Semiology, Architecture, Academic Institutions in the Northeastern Region
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กิตต์ มักการุณ. (2542). สถาปัตยกรรมอีสานร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2551). หนังสือรำลึก วิโรฒ ศรีสุโร. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชวลิต อธิปัตยกุล. (2559). ศิลปะอีสาน: จากวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบันโดยสังเขป. อุดรธานี: โรงพิมพ์บ้านเหล่าการพิมพ์.
เชาวลิต สิมสวย. (2558). ภูมิปัญญาในการเก็บข้าวมีผลต่อรูปแบบและที่ตั้งของยุ้งข้าวบริเวณบ้านพักอาศัยในสังคมเกษตรกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(1), 23-32.
เถกิง พัฒโนภาษ. (2551). สัญศาสตร์ กับ ภาพแทนความ. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (57)1, 39-40.
ธิติ เฮงรัศมี, ธนู พลวัฒน์ และธาดา สุทธิธรรม. (2535). รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรม บ้านพักอาศัยในชนบทอีสาน แถบลุ่มน้ำชี. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิยลดา เทวกุล ทวีปรังษีพร. (2554). คำ ความคิด สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ลายเส้น พับบลิชชิ่ง.
ปรีชา นวประภากุล. (2540). ลักษณะไทยสมัยใหม่สำหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทสถาบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พหลไชย เปรมใจ. (2543). อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารอาษาสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2543)12, 60-65.
ฟิวเจอร์ เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์. (2559). แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคารศูนย์การเรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ฟิวเจอร์เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์.
ภัคพงศ์ อัครเศรณี. (2548). การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสื่อความหมายโดยประยุกต์ใช้หลักการของวิชาสัญศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
เมธา คล้ายแก้ว, ศรัณย์ กฤติยานันต์, ภาณุวัฒน์ ยะคาป้อ และกรรณิการ์ เชียรจรัสวงศ์. (2554). แบบร่างแนวความคิดในการออกแบบอาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สโตนเฮ้นจ์.
มิวเซียมไทยแลนด์. (2562). อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. เข้าถึงได้จาก: https://www.museumthailand.com/th/museum/Phimai-Historical-Park.
วิชิต คลังบุญครอง. (2546). รูปแบบและรายละเอียดของเฮือนอีสาน. อีสานสถาปัตย์ ฉบับพิเศษ สถาปัตยกรรมอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 33-55.
วิโรฒ ศรีสุโร. (2536). สิมอีสาน. โตเกียว: มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศญี่ปุ่น.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจ และศิวาพร กลิ่นมาลัย. (2554). จิตวิทยาสภาพแวดล้อม มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: บี .พี .เซ็นเตอร์.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2537). สถาปัตยกรรมไทย ข้อจำกัดและทางเลือกในการสืบสาน.วารสารอาษาสมาคมสถาปนิก สยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2537)12, 87-95.
วิเชษฎ ธวัชนันทชัย และสันทยา ภิรมย์เกียรติ. (2559). แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สันต์ สุวัจฉราภินันท์, ทวีศักดิ์ เกียรติวีระศักดิ์ และรัฏฐา ฤทธิศร. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการถอดรหัสและการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบ. เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุมาลี ประทุมนันท์. (2537). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารอาร์คแอนด์ไอเดีย. 1(14), 30-39.
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). วัดพิจิตรสังฆาราม. เข้าถึงได้จาก: https://cac.kku.ac.th/esanart/ 19%20Province/ Mukdahan/PijitSangkaram/MDH%20PijitSangkaram.html.
Broadbent, G., Bunt, R., and Jencks, C. (1980). Sign, Symbols and Architecture. New York: John Wiley&Sons.
Jencks, C. (1991). The Language of Post-Modern Architecture. London: Academy Group.