Factors Affecting the Land Use Changes along Charansanitwong Road in Bangkok Noi District, Bangkok

Main Article Content

Putpunnin Khamwachirapitak
Aiyawarin Weerarak

Abstract

บทคัดย่อ


        เขตบางกอกน้อยเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นมาตั้งแต่อดีตจึงมีการพัฒนาโครงการทางคมนาคม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น ทว่าจากสถิติ ตัวเลขประชากรทะเบียนราษฎร์กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ในช่วง พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นปีที่มี โครงการพัฒนาด้านคมนาคมเข้ามาใน พื้นที่ถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดจากการพัฒนาโครงการทางคมนาคมบริเวณย่ำนถนนจรัญสนิทวงศ์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การสำรวจทางกายภาพ ทั้งอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งกลุ่มตัวแทนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนผู้ประกอบการ และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ผลการวิจัยพบว่าบริเวณย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจและการใช้ ประโยชน์ที่ดินสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจาก 1) ปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ 2) ปัจจัยที่เกิดจากแผนนโยบายจากภาครัฐ ที่ไม่ได้ เข้ามาจัดการผลกระทบด้านกายภาพและเศรษฐกิจที่เกิดจากการเข้ามาของโครงการคมนาคม แผนนโยบายที่เกิดขึ้นมาจาก การวางแผนที่ไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นรอบด้ำน จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่มี การพัฒนาโครงการทางคมนาคมลักษณะดังกล่าว โดยเสนอแนวทางพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวสูงหรืออาคารแบบ ผสมผสำนในบริเวณริมย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่นำไปสู่การเสนอพื้นที่ที่สามารถชดเชย แหล่งเศรษฐกิจสำหรับผู้ประกอบการ


คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัย ถนนจรัญสนิทวงศ์ โครงการทางคมนาคม


Abstract


       Bangkok Noi has been the high-density settlement since the past. The transportation projects and real estate projects are for supporting a growing population, but the registered population are continuously declining. The objectives of this article are 1) to study land use changes along Charansanitwong road from 2011, which is the year that the transportation projects entering the area, to the present, 2) to study factors affecting the land use changes from the transportation projects along Charansanitwong road, and 3) to suggest the guidelines of land use. This research contains primary data and secondary data. The data collection methods for this research consist of 1) field survey to collect physical data of building and land uses and 2) in-depth interviewing with related people divided into 3 groups: representatives of government agency, entrepreneur, and people in the area. The result found that there were changes in physical conditions, economic conditions, and land use conditions along Charansanitwong road. In conclusion, factors affecting the land use changes along Charansanitwong road caused by 1) the land use factors and 2) the factors from the policy plans which the government cannot manage the physical and economic impacts that occur from the transportation projects since the lack of comprehensive planning and the associated impacts on the area. Therefore, there are the land use recommendations in area with a project for transportation development by developing the high-rise residential or mixed-use buildings along Charansanitwong road and the policy recommendations are proposed compensation areas for entrepreneurs as well.


 Keywords: Land Use Change, Land Use, Factors, Charansanitwong Road, Transportation Projects

Article Details

How to Cite
Khamwachirapitak, P., & Weerarak, A. . (2019). Factors Affecting the Land Use Changes along Charansanitwong Road in Bangkok Noi District, Bangkok. Asian Creative Architecture, Art and Design, 29(2), 1–18. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/199197
Section
Research Articles

References

กรกฎ ยอดศึกษา. (2539). ศักยภาพในการพัฒนาที่ดินรอบสถานีรถไฟโพธินิมิต เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). รายงานสถิติจานวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2560. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php.

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (2562). โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน. เข้าถึงได้จาก: https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/blueline/.

จันทร์จิรา จิระราชวโร. (2548). การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ในเขตพื้นที่บ้านบุเจ้าคุณ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (ในช่วงพ.ศ.2537-2545). (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นิกร ศิรโรจนานนท์. (2555). ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ - สังคมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน: กรณีศึกษา พื้นที่ลุ่มน้ำวัง ท้องที่ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เข้าถึงได้จาก: https://forprod.forest.go.th/forprod/PDF/ผลงานข้าราชการที่ได้รับประเมินในระดับชำนาญการพิเศษ/นายนิกร ศิรโรจนานนท์/บทที่2 การตรวจเอกสาร.pdf.

นิพันธ์ วิเชียรน้อย. (2549). การใช้ที่ดินในเมือง. การผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในประเทศไทย. 29(2552), 28 - 29.

มานพ พงศทัต. (2527). รูปแบบการใช้ที่ดินระบบและโครงสร้างการสัญจรของกรุงเทพมหานคร: การพัฒนาและแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง. (2561). แนวคิด TOD กับปรากฏการณ์คอนโดล้อมสถานี. เข้าถึงได้จาก: https://www.uddc.net/th/knowledge/แนวคิด-tod-กับปรากฏการณ์คอนโดล้อมสถานี#.XXkU2CgzZPY.

สุเชาว์ ทุมมากรณ์. (2552). แนวทางการออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับจุดเปลี่ยนระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลชน บริเวณสถานีเตาปูน เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2562 ก). แผนที่กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก: https://cpd.bangkok.go.th:90/web2/ mapbkk/map.html.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2562 ข). ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก: https://cpd.bangkok.go.th.

สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. (2562 ก). โครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพรานนก. เข้าถึงได้จาก: https://203.155.220.238/dpw/index.php/yota-projects/yota-project/35-yota-project-construct-bridgetunnel/160-yota-project-construct-bridgetunnel-2-prannok.

สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. (2562 ข). โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรฝั่งธนบุรี. เข้าถึงได้จาก: https://203.155.220.238/dpw/index.php/yota-projects/yota-king-project/197-yota-project-king-thonburi.

Abrams, C. (1971). The Language of Cities; a Glossary of Terms. New York: Viking Press.

Google Earth Pro. (2019). เขตบางกอกน้อย 658862.81 เมตร ตะวันออก 1521098.39 เมตร เหนือ. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/earth/index.html.

Harris, C. D. and Ullman, E. L. (1945). The Nature of Cities. The Annals of the American Academy of Political and Social Science. 242(1), 13.

Morimoto, A. (2015). Traffic and Safety Sciences: Interdisciplinary Wisdom of IATSS. Tokyo: The Japan Times.

Pacione, M. (2009). Urban Geography: A Global Perspective. London: Routledge.