The Reflections of Srinakharinwirot University Identity through Font Creation
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์และบุคลิกภาพของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและออกแบบ ชุดตัวอักษรสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เก็บข้อมูลจากบุคลากรภายในองค์กร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วยแบบสอบถามเชิงสำรวจ จำนวน 350 คน พบว่าที่มาการออกแบบจากตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเหมาะสมที่สุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีบุคลิกภาพแบบทันสมั ย (Modern) และดูเก๋ (Chic) รูปแบบตัวอักษรจึงเป็นตัวตกแต่งแบบตัวไม่มีหัวหรือมีหัวเป็นจะงอย มีน้ำหนักเส้นอักษร เท่ากัน รูปร่างผอมเป็นเส้นโค้ง
ผู้วิจัยสร้างสรรค์ตัวอักษรจำนวน 2 รูปแบบ แบบที่1 ใช้เส้นกราฟในตราสัญลักษณ์เป็นโครงสร้างหลักของตัวอักษร และรูปแบบที่ 2 ใช้เส้นวงรอบนอกตราสัญลักษณ์ช่วงหนึ่งโค้งหยักเป็นโครงสร้างเส้นบนและเส้นล่างของ ตัวอักษร ผสมผสานกับเส้นกราฟ ผลประเมินความพึงพอใจจากจำนวน 100 คน ใน 6 ประเด็น พบว่าตัวอักษร รูปแบบที่ 1 ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดใน 3 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 อักษรมีรูปแบบไปในทิศทางเดียวกับตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ประเด็นที่ 2 ตัวอักษรมีลักษณะเฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ และประเด็นที่ 3 ตัวอักษรดู กลมกลืนเป็นชุดเดียวกัน อักษรรูปแบบที่ 2 ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเพียง 1 ประเด็น คือประเด็นที่ 4 ตัวอักษร ดูกลมกลืนเป็นชุดเดียวกัน ทั้งนี้ในประเด็นที่ 3 ตัวอักษรดูชัดเจน อ่านง่าย ประเด็นที่ 5 ขนาดและความหนาของตัวอักษร และประเด็นที่6 ตัวอักษรดูมีความทันสมัย ดูเก๋ ของตัวอักษรทั้ง 2 รูปแบบ ได้รับความพึงพอใจใกล้เคียงกัน จึงสรุปได้ว่า ตัวอักษรรูปแบบที่ 1 เหมาะสมเป็นชุดตัวอักษรสะท้อนอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมากที่สุด
ผลงานสร้างสรรค์ตัวอักษรรูปแบบที่ 1 ใช้ชื่อชุดตัวอักษรว่า “ศรีนคริน” เป็นตัวอักษรตกแต่งประเภทไม่มีหัวแต่จะมีลักษณะเป็นจะงอยแทนตัวอักษรเหมาะสมสำหรับเป็นคำพาดหัวหรือตัวหัวเรื่องในงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ หรือใช้ในงานสำหรับแสดงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นสำคัญ
คำสำคัญ: รูปแบบตัวอักษร ชุดตัวอักษร อัตลักษณ์ ศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
This creative research aims to analyze identity and personality of Srinakharinwirot University and create the font that reflects Srinakharinwirot University identity. The research is conducted by collecting information from Srinakharinwirot University staff through 350 questionnaires . It was found that the most appropriate font design was derived from the University’s logo. Moreover, since the University’s distinctive identity is its modernness and chicness, the font design that best reflects these qualities is a d is p la y typeface with loopless or diagonal terminal, equal font weigh, with thin and curved shape. Two font designs were created in order to compare them and find the design that best reflects the University identity. The first design used the graph line in the University’s logo as the key structure of the font. The second design used the combination between the curved line from the logo’s outer frame and the graph line as the key structures of the font’s upper and lower lines. The results showed that satisfaction assessment, from 100 samples, between those two designs in six different aspects were as follows. The first design was considered as the most satisfactory design in three aspects: 1) the same design direction as the University’s logo, 2) unique design, and 3) harmonious aspect of the design. The second design was satisfactory in only one aspect, the harmonious aspect of the design. Both designs received similar percentage in satisfaction on three aspects as follows: 1) visible and legible design, 2) appropriate size and weight, and 3) modern and chic design. Therefore, the first design is the most appropriate design that best reflects the University identity. The first font design is named “Srinakharin”. It is a display typeface with diagonal, loopless terminal. It is appropriate to be used for headlines, titles for advertisements and public relations works, or in the events that aim to promote the University identity.
Keywords: Typeface, Font, Identity, Srinakharinwirot
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.
References
จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556). Typography. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.
ทินวงษ์ รักอิสสระกุล. (2554). การออกแบบชุดตัวอักษรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ. (2543). การใช้ตัวอักษรไทยเพื่อสื่อสารบุคลิกลักษณะในงานออกแบบเรขศิลป์ . (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานฤมิตศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principle. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2560). ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เข้าถึงได้จาก: https://swu.ac.th/history.php.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2561). รายงานประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. เข้าถึงได้จาก: https://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.pdf.