The Reciprocal Exchange In Concepts and Styles among Thai Artistic Works

Main Article Content

Somchok Sinnugool

Abstract

บทคัดย่อ


        งานศิลปะไทยแต่ละประเภทมีรูปแบบเฉพาะทั้งในงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม รวมถึงงานศิลปะในประเภทย่อยต่างๆ เช่น มัณฑณศิลป์ และประณีตศิลป์ แต่มีงานกลุ่มหนึ่งในจำนวนของงานศิลปะประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งแสดงถึงการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบซึ่งกันและกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบซึ่งกันและกันที่ปรากฏในงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม ขอบเขตงานวิจัยคืองานศิลปะไทยที่เป็นทัศนศิลป์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ และประณีตศิลป์ มีวิธีการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลภาคเอกสาร ได้แก่ ประวัติและแนวความคิดในการออกแบบ รวมถึงข้อมูลภาคสนามจากการสำรวจและบันทึกภาพถ่าย ทำการวิเคราะห์รูปแบบกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา โดยการจัดกลุ่มจำแนกตามประเภทของงานศิลปะที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบซึ่งกันและกันอย่างเด่นชัดแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบจากงานศิลปะที่มิใช่งานสถาปัตยกรรมไปสู่งานสถาปัตยกรรม และในทางกลับกันคือกลุ่มที่ 2 การแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบจากงานสถาปัตยกรรมไปสู่งานศิลปะที่มิใช่งานสถาปัตยกรรม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ 1 งานศิลปะที่มิใช่งานสถาปัตยกรรม เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม มัณฑณศิลป์ หรือประณีตศิลป์ ถูกนำไปใช้เป็นรูปแบบให้กับพระเจดีย์และเครื่องยอด โดยแนวความคิดในการออกแบบอาจสอดคล้องกันหรือไม่ก็ได้ มีรูปแบบที่มิใช่แบบแผนของงานสถาปัตยกรรมโดยทั่วไปแต่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของรูปร่างรูปทรงที่สอดคล้องกัน กลุ่มที่ 2 พบว่าเครื่องยอดในงานสถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบที่นำไปใช้กับงานศิลปะในประเภทอื่นๆ ได้ แก่มัณฑนศิลป์ และประณีตศิลป์ เช่น งานประดับตกแต่ง สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องเรือน โดยมีแนวความคิดที่สอดคล้องกันเพื่อสื่อ แนวความคิดในเรื่องของปราสาทคือเรือนของผู้มีศักดิ์สูง แต่มีรูปแบบที่มิได้สอดคล้องกับการใช้ งานตามศิลปะในแต่ละประเภท การแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบซึ่งกันและกันในงานศิลปะไทยทั้งจากงานศิลปะที่มิใช่งาน สถาปัตยกรรมไปสู่งานสถาปัตยกรรม และในทางกลับกันคือจากงานสถาปัตยกรรมไปสู่งานศิลปะที่มิใช่งาน สถาปัตยกรรมนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่องานศิลปะแต่ละประเภทมีแนวความคิดที่สอดคล้องกันหรือมีรูปแบบได้แก่รูปร่าง และรูปทรงที่สอดคล้องกัน โดยเป็นการออกแบบในลักษณะของการอุปมาคือการนาแนวความคิดหรือรูปแบบจากสิ่งหนึ่งไปเปรียบเทียบใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง


 คำสำคัญ: การแลกเปลี่ยน แนวความคิด รูปแบบ ศิลปะไทย สถาปัตยกรรมไทย


 Abstract


        Each type of Thai artistic works has its own unique style, such main types of arts as painting, sculpture, architecture, and this also includes all sub-categories of artistic works, such as decorative arts and Thai minor arts. However, there is a group of works among these various types of artistic works which expresses the reciprocal exchange of concepts and styles among all Thai artistic works. The objective of this research is to understand the reciprocal exchange in concepts and styles among different types of artistic works. In this research, the historical, artistic and architectural methodologies were also applied while the scope of the research was focused on Thai visual arts with sample groups including painting, sculpture, architecture, decorative arts, and Thai minor arts. Additionally, the researcher studied data from such documents as design history and concepts and collected on-site data by surveys and photo- records. Then, data retrieved from sampling group were analysed based on types of artistic works that outstandingly express the reciprocal exchange of concepts and styles among other artistic works. There were two main groups; Group 1: the exchange of concepts and styles from non-architectural artistic works to architectural works, and vice versa, Group 2: the exchange of concepts and styles from architectural works to non-architectural artistic works. The result revealed that in Group 1 the non-architectural artistic works such as painting, sculpture, decorative arts, and Thai minor arts, was considered as the style and used at the finials of pagodas. In Group 2, the finials in architectural works were used in other artistic works such as decorative arts and Thai minor arts, including decorative works, utensils, and furniture, with the harmonized concept to convey the meaning of the Prasada. On the other hand, there were styles that were not in accordance with other types of art. The reciprocal exchange of concepts and styles among artistic works can be happened when the harmony in concept and style, in appearances and shapes, emerged among different types of art.


Keywords: Exchange, Concept, Style, Thai Art, Thai Architecture

Article Details

How to Cite
Sinnugool, S. (2019). The Reciprocal Exchange In Concepts and Styles among Thai Artistic Works. Asian Creative Architecture, Art and Design, 29(2), 92–108. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/200685
Section
Research Articles

References

กรมศิลปากร (2556). กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก: https://www.finearts.go.th.

โชติ กัลยาณมิตร. (2548). พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

น. ณ ปากน้ำ. (2532). ความเข้าใจในศิลปะ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

น. ณ ปากน้ำ. (2543). ธรรมาสน์ ศักดิ์และศรีแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

น. ณ ปากน้ำ. (2541). สมุดภาพประวัติศาสตร์ศิลปะสยามประเทศ: ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และอนุมานราชธน, พระยา. (2552). บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2521). บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2546). สาส์นสมเด็จ เล่ม 1. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2504 ก). สาส์นสมเด็จ เล่ม 6. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2504 ข). สาส์นสมเด็จ เล่ม 8. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2505 ก). สาส์นสมเด็จ เล่ม 18. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (2505 ข). สาส์นสมเด็จ เล่ม 23. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2512). หม่อมเจ้าหญิงพิไลเลขา ดิศกุล. พระนคร: วัชรินทร์การพิมพ์.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2513). ชุมนุมพระนิพนธ์ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์.

แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์ และคณะ. (2531). สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง 1. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.

พิชญา สุ่มจินดา. (2553). บุษบกธรรมาสน์ยอดมงกุฎในการเปรียญวัดราชประดิษฐฯ ราชประดิษฐพิพิธบรรณ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2541). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตนสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ฮ ฉบับราชบัณฑิตนสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2551). ประวัติ แนวความคิด และวิธีค้นคว้าวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

เลอสม สถาปิตานนท์. (2539). แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). เจดีย์ในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี: เมืองโบราณ.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2562). ฐานข้อมูลศิลปกรรมเอเซียอาคเนย์. เข้าถึงได้จาก: https://www.sac.or.th

สันติ เล็กสุขุม. (2553). งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สันติ เล็กสุขุม. (2549). ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สันติ เล็กสุขุม. (2538). หลังคาซ้อนชั้นของโบสถ์ วิหาร. ศิลปวัฒนธรรม. 16(8 มิถุนายน 2538), 186-188.

สมมตอมรพันธ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ, ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา และนริศรานุวัดติวงศ์,สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (2539). ตำนานพระโกศและหีบศพบรรดาศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพระราชวัง.