การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Main Article Content

ธวัชชัย บัวขาว
มนสิชา เพชรานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เริ่มเปิดทำการเรียนการสอน  เมื่อปี  2547  มีพื้นที่ประมาณ 3,500  ไร่ ปัจจุบันมีปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่คุ้มค่าเนื่องจากไม่มีแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ในอนาคต การศึกษานี้เป็นความพยายามที่จะหาคำตอบว่าแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวโดยผ่านนโยบายการพัฒนาพื้นที่มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงให้สามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตภายใต้แนวคิดมหาวิทยาลัยสีเขียวและเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

ในการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวมีตัวชี้วัดหลัก 6  ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมของประชากรภายในและชุมชนโดยรอบ  2) คุณภาพชีวิตที่ดี  3) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   4) การรักษาสภาพแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน   5) การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้พลังงานทดแทน   6) สภาพเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ  วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 411 คน คือ ประชากรมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ กลุ่มตัวอย่างในภาพรวมให้ความสำคัญ อันดับ 1 คือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันดับ 2 คือ ด้านคุณภาพชีวิตที่ดี อันดับ 3 คือ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน อันดับ 4  คือ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการใช้พลังงานทดแทน อันดับ 5 คือ ด้านสภาพเศรษฐกิจที่ดีของมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ อันดับ 6 คือ ด้านการมีส่วนร่วมของประชากรภายในและชุมชนโดยรอบ  ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตตามแผนพัฒนาการศึกษา 15 ปี และสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยสีเขียว  การกำหนดกรอบนโยบาย  การพัฒนามหาวิทยาลัย

 

Abstract

Thaksin University was established in 2004 with a total area of 3,500 rais. Currently, the university does not have any master plan resulting in inefficient use of land. This study aims to investigate what the policies of the university should be in order to guide the spatial development towards the concept of “Green University”.  The main objectives are to provide Thaksin University a plan for future spatial development and to recommend policy and actions towards ”Green University”.

Policy and strategies towards ‘green university’ comprise of six major aspects, public participation, high quality of life, safety, environmental protection and energy saving, efficiency in resource use and alternative energy, and economic vitality. The data were collected  from 411 persons, members of university community and of the surrounding communities. The findings indicate that safety, high quality of life, and environmental protection and energy saving are among the top priorities in developing towards the green university as considered by people in the university and surrounding communities.

Keywords: green university, policy formation, university development

Article Details

How to Cite
บัวขาว ธ., & เพชรานนท์ ม. (2012). การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. Asian Creative Architecture, Art and Design, 14(1), 40–45. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4131
Section
Research Articles