การศึกษาความเปรียบเทียบการจำแนกประเภทผังพื้นบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วง พ.ศ.2531- 2550
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างในการจำแนกประเภทของพื้นที่ใช้สอย และสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอยในบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ของบ้านขนาดกลาง ของบ้านพักอาศัยที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2531-2550 ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยภายในรวมระหว่าง 102-230 ตร.ม. และตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ตัวอย่างประกอบด้วยบ้านจัดสรรและบ้านที่สร้างเองโดยเจ้าของอย่างละ 7 หลังคาเรือน พบว่าประเภทของพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านจัดสรรมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ประเภทและความถี่ของพื้นที่ใช้สอยแต่ละชนิดในบ้านพักอาศัยที่สร้างเองไม่เปลี่ยนไปจากเดิมนัก ห้องนอนในบ้านที่สร้างเองมีจำนวนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนห้องนอนในบ้านจัดสรร พื้นที่ใช้สอยของห้องนอนเมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้สอยโดยรวมในบ้านสร้างเองมีสัดส่วนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สัดส่วนการเพิ่มของพื้นที่ห้องนอนในโครงการบ้านจัดสรรมีมากอย่างชัดเจน จำนวนเฉลี่ยของห้องน้ำ ทั้งในบ้านจัดสรรและบ้านที่สร้างเองมีมากขึ้นเล็กน้อย แต่สัดส่วนพื้นที่ใช้สอยเฉลี่ยของห้องน้ำในบ้านจัดสรรมีเพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัวในระยะเวลา 10 ปีหลัง การศึกษาขั้นต่อไปควรเป็นการวิจัยในเชิงลึกถึงสาเหตุต่างๆ รวมถึงลักษณะทางสังคมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต การทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในที่อาศัยอยู่ในบ้าน ที่เป็นอิทธิพลให้เกิดความเปลี่ยนบนแปลงของแนวคิดในการออกแบบบ้านพักอาศัยทั้งสองประเภทนี้
คำสำคัญ: การจำแนกประเภทของพื้นที่, สัดส่วนของพื้นที่ใช้สอย, บ้านสองชั้น, บ้านจัดสรร, บ้านพักอาศัยสร้างเอง, ผังพื้น
ABSTRACT
This case study compares and contrasts the pattern of spatial utilization of two-story detached dwelling for middle income group that were built between 1987-2007 by (1) the home owners, and (2) the housing development companies. The research aimed at investigating ‘the allocation of spatial type’ and the ‘categorical differentiation’ of 7 contemporary houses, in Bangkok Metropolitan and its perimeter, with an interior space ranging from 102-230 square meters. The results indicated apparent trend in the reduction of spatial category within the houses built by the housing development companies. On the contrary, the spatial categories in the houses built by the home owners remain relatively stable over the period of 20 years. In term of spatial allocation, changes in the both the sizing and the numbers of the area within both types of housing are found; the area allocated for private spaces such as bedroom and bathroom had noticeably been increased in while the common area for family gathering had been downsized. These findings warrant further investigation particularly on the interplay between social factors, domestic life of the city dwellers, and the spatial arrangements within their houses.
Keywords: categorical differentiation, detached house, domestic space, floor plan, housing development, space allocation, spatial utilization, residential design, two-storey
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Copyright Transfer Statement
The copyright of this article is transferred to Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang with effect if and when the article is accepted for publication. The copyright transfer covers the exclusive right to reproduce and distribute the article, including reprints, translations, photographic reproductions, electronic form (offline, online) or any other reproductions of similar nature.
The author warrants that this contribution is original and that he/she has full power to make this grant. The author signs for and accepts responsibility for releasing this material on behalf of any and all co-authors.