ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1

ผู้แต่ง

  • พระอนุรักษ์ จุดสี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ  และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 194 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการให้การสนับสนุน กระตุ้นและให้กำลังใจแก่นักเรียนในการเรียน ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการนิเทศและประเมินผลการสอน ด้านการประสานงานหลักสูตร ด้านการพิทักษ์การใช้เวลาในการสอน และด้านการทำตัวให้เป็นที่พบเห็นอยู่เป็นนิจ 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=0.649) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

The purposes of this research were to study: 1) the instructional leadership of Phrapariyattidhamma School Administrators, 2) the efficiency of learning management of Phrapariyattidhamma School teachers and 3) the relationship between the instructional leadership of School Administrators and efficiency of learning management of teachers of Phrapariyattidhamma Schools. The sample consistsed of 194 teachers of Phrapariyattidhamma Schools (General Education) Group 1, school academic year 2021. The reliability of the instrument item was 0.98. The data were analyzed by descriptive statistics: percentage, mean, standard deviation and inferential statistics: Pearson’s Coefficient Correlation. The results of the study were as follows: 1) The instructional leadership of School Administrators of Phrapariyattidhamma Schools (General Education) Group 1 as a whole and each aspect was in the high-level ranging in order: providing incentives for learning, promoting professional development, communicating the school goals, framing the school goals, monitoring student progress, supervising and evaluating instruction, coordinating the curriculum, protecting instructional time and maintaining high visibility, 2) The efficiency of learning management of Phrapariyattidhamma School teachers (General Education) Group 1 as a whole and each aspect was at the high level ranging in order: planning and designing of learning management, measuring and evaluating learning management, managing classroom climate and learning activity management and 3) The relationship between the instructional leadership of School Administrators and efficiency of learning management of teachers of Phrapariyattidhamma Schools had a positive correlation at the moderate level (r=0.649) with the statistical significance at 0.01 level.

References

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนา. (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พ.ศ.2553 – 2562). สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563, จาก http://www1.onab.go.th/e-Books/Strategy-saman.pdf.

ชนินันท์ คล้ายมณี, จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ และอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2560). ปัจจัยภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/9799/8339.

ตัทธิตา ติ่งต่ำ, สมคิด นาคขวัญ และชูศักดิ์ เอกเพชร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 12. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/93489/73200 .

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้าง.สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/58950124.pdf .

มัสยา นามเหลา. (2554). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.npu.ac.th/npujournal/files_research/4/npu1.8.pdf .

Hallinger, P. and Murphy, J. (1986). Instructional leadership in effective schools. Retrieved October 11, 2019, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED309535.pdf.

McEwan, E. K. (2003). Seven Steps to Effective Instructional Leadership (2nd ed.). CA: Coewin Press.

Smith, R. and Lynch, D.E. (2010). Rethinking Teacher Education: Teacher Education in the Knowledge Age. Retrieve March 16, 2021, from https://www.researchgate.net/ publication/236886656_Rethinking_Teacher_Education_teacher_education_in_the_knowledge_age.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20 — Updated on 2022-08-09

Versions