อิทธิพลภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การที่มีผลต่อภาพ ลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

อภิญญา ตันสกุล
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์การ และภาพลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์เชิงบวก 2. ภาวะผู้นำที่ รับผิดชอบต่อสังคมสามารถอธิบายและทำนายการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ 3. ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมสามารถอธิบายและทำนายภาพลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งทาง ตรงและทางอ้อมผ่านการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ และ 4. การรับรู้ของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การสามารถอธิบายและทำนายภาพลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือผู้อาศัย ในอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สมการโครงสร้าง ผลการวจิยัพบวา่ 1. มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได ้ระหว่าง 0.286 - 0.608 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 2. ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์การอย่างมีนัยสำคัญ (DE = 0.77, p < 0.01) และมีค่าความแปรปรวนที่ถูกทำนายโดยภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม รอ้ยละ 60 (R2 = 0.60) ในระดบัสงูมาก 3. ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญ (DE = 0.26, p < 0.01) และทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี ค่าความแปรปรวนที่สามารถถูกอธิบายโดยภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมร้อยละ 61 4. การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ (DE = 0.56, p < 0.05) และมีค่าดัชนีความเหมาะสมเหมาะสม X2 / df = 1.437, CFI = 1.00, NNFI = 0.99, RMSEA = 0.033 และ 90% CI for RMSEA มีค่าระหว่าง = 0.00 ; 0.055

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานสิ่งแวดล้อม กฟผ. ประจำปี 2560 (Online). http://www.egat.co.th/ images/egat-csr/csr-operation/environmental_report_2560.pdf, 10 มกราคม 2561.

จิรพรรณ รัตนจักร. (2557). ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมกลุ่มแอสซีจี เคมีคอลส์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). “การใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.” วารสารบริหารธุรกิจ 36 (140): 71-97.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2559). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์การ: การสร้างข้อได้เปรียบ ในการแข่งขัน อย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

_____________ (2558). “ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์องค์การของท่า อากาศยานสุวรรณภูมิ.” วารสารสมาคมนักวิจัย 20 (2): 48-58.

ระพีพรรณ วงศ์ประเสริฐ. (2553). ความรับผิดชอบต่อสังคมธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ไอคอนพรินติ้ง.

References
Astin, H. S. (1996). Leadership for social change. About Campus, 1(3), 4-10.

Carroll, A. B. (1991). “Corporate Social Responsibility: Evolution of a Definitional Construct more.” Business and Society 38(3): 268-295.

Hooper, D. J. Coughlan and M. R. Mullen. (2008). “Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit.” The Electronic Journal of Business Research Methods 6(1): 53-60.

Keller, K. L. (2003). Strategic Brand Management: Building, Measuring and Managing Brand Equity. 2nd ed. New Jersey: Prentice Hall.

Leech, N. L., K. C. Barrett, and G.A. Morgan. (2005). SPSS for Intermediate Statistics, Use and Interpretation. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Nonthanathorn, P. (2010). Corporate Social Responsibility Management: Creating Sustainable Competitive Advantage. Nonthaburi: Thinkbeyond. (in Thai).

Waldman, D. A. (2007). “Best Practices in Leading at Strategic Levels: A Social Responsibility Perspective.” In Jay A. C. and R. E. Riggio. (eds.). The Practice of Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Translated Thai References
Nonthanathorn, Phiphat. (2010). Corporate Social Responsibility Management: Creating Sustainable Competitive Advantage. Nonthaburi: Thinkbeyond. (in Thai).

Working Committee of Social and Environment Promotion of Listed Company. (2008). Business Compass for Society. Bangkok: CSRi. (in Thai).