ความสัมพันธ์ระหว่างรหัสการลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืน

Main Article Content

เฉลียว วิทูรปกรณ์
ภวัฒน์ วิทูรปกรณ์
สุขุมพงษ์ ชาญนุวงศ์
ธัชพนธ์ ยอดทอง
อรปภา ชุติกรทวีสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืนของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืนของนักลงทุนบุคคล 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรหัสการลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Methodology) เก็บรวบรวมข้อมูล
เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ โดยเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จำนวน 11 ท่าน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จากนักลงทุนบุคคล จำนวน 420 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เอกสารร่วมกับโปรแกรม ATLAS Ti ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเส้น ผลการศึกษามุมมองของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์พบว่า นักลงทุนบุคคลควรพิจารณาปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน ประกอบด้วย วิธีการลงทุน 6 ข้อ ดังนี้ 1) รู้จักตัวเอง2) รู้จักความเสี่ยง 3) รู้จักเครื่องมือในการวิเคราะห์ 4) รู้จักศึกษาหาความรู้ 5) รู้จักวางแผนการลงทุน 6) รู้จักติดตามผลการลงทุน และปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้น 4 ข้อ ดังนี้ 1) ปัจจัยพื้นฐาน 2) ปัจจัยผู้บริหาร 3) ปัจจัยข้อมูลข่าวสาร 4) ปัจจัยทางเทคนิค นอกจากนี้ยังพบรหัสการลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืนคือ 3 High ประกอบด้วย High Growth (การเติบโตได้สูง), High Margin (การทำกำไรได้สูง) และ High Price (การทำราคาได้สูง) ซึ่งเป็นรหัสการลงทุนในหุ้นเทพหรือหุ้นเติบโต (Growth Stock) และ 4 High ประกอบด้วย High Growth (การเติบโตได้สูง), High Margin (การทำกำไรได้สูง), High Dividend (การจ่ายปันผลได้สูง) และ High Price (การทำราคาได้สูง) ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนหุ้นในดวงใจหรือหุ้นในอุดมคติ (Ideal Stock) ผลการวิจัยยังพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของรหัสการลงทุนในหุ้น อย่างยั่งยืน ทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย การเติบโตได้สูง การทำกำไรได้สูง การจ่ายปันผลได้สูง และการทำราคาได้สูง มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และข้อค้นพบจากงานวิจัยได้นำเสนอรหัสการลงทุนในหุ้นอย่างยั่งยืน โดยการเติบโตได้สูง (HG) มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมในทิศทางบวกต่อการทำราคาได้สูง (HP) การทำกำไรได้สูง (HM) การจ่ายปันผลได้สูง (HD) มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกต่อการทำราคาได้สูง (HP) และการทำกำไรได้สูง (HM) มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวก ซึ่งเป็นขนาดอิทธิพลที่สูงที่สุดต่อการทำราคาได้สูง (HP)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภวัฒน์ วิทูรปกรณ์, รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

References

กนกดล สิริวัฒนชัย และอิทธิกร ขำเดช. (2557). การตัดสินใจลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 18–48 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4 (1), 521–543.

จักรพงศ์ ตรงมา. (2551). การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558ก). วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2559, จาก http://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content04.pdf

__________ (2558ข). กลยุทธ์ลงทุนหุ้น. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2559, จาก http://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content08.pdf

__________ (2559). 6 Steps การลงทุน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2559, จาก http://www.set.or.th/yourfirststock/6steps_01.html

ธนภร ชลศิริวานิช. (2555). ความรู้และความเข้าใจในการเลือกลงทุนของนักลงทุนทั่วไปในประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 4(2), 53-56.

นรเศรษฐ ศรีธานี. (2551). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยเทคนิค Value at Risk (VaR). การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6.

บุญฑวรรณ วิวอนและคณะ. ( 2559). อิทธิพลของภาพลักษณ์ร้านค้า คุณค่าความสัมพันธ์ พฤติกรรมการบริการและการซื้อซ้ำที่มีความภักดีของลูกค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2): 69-83.

ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ และนิรมล อริยอาภากมล. (2555). เศรษฐกิจไทย 15 ปีหลังวิกฤติ: พอเพียงหรือยัง?. กรุงเทพฯ:ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัชนีพร แสนสุรินทร์ (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการจ่ายเงินปันผลและอัตราการเติบโตของกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนา พฤกษมาศวงศ์. (2546). ผลกระทบของการประกาศผลกำไรจากการดำเนินงานต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุจา นัยนารถ (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับการจ่ายเงินปันผล. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วัชรี อัศวยิ่งเจริญ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายเงินปันผลกับกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ทิพย์ เนตระกาศ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับโอกาสในการเติบโตของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. การศึกษาด้วยตนเอง บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรรถวุฒิ ภิรมย์. (2553). การสร้างกลยุทธ์การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้อัลกอริธึมพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อัจฉริยา รามวงศ์ (2553). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์จากการจ่ายเงินปันผลของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

References
Atsawayingcharoen, W. (2005). The Relationship between Dividends and Earnings of the Registerd Companies in the Stock Exchange of Thailand. Master of Accountancy, Chulalongkorn University.(in Thai).

Cholsiriwanit, T. (2012). Knowledge and understanding in investment of general investors in Thailand.RMUTT Global Business and Economics Review, 4(2), 53-56. (in Thai).

Fama, E. F. & French, K. R. (1992). The cross section of expected stock return. Journal of Finance. 47(2),427–465.

Mangsawad, P. and Ariyaphakamol, N. (2012). Fifteen years after the crisis: Have we been on the sufficiency economy path?, Bangkok: Center of the Study of Sufficiency Economy, National Institute of Development Administration. (in Thai).

Naiyanart, R. (2010). A Relationship between Stock Price and Dividend Payment. Independent Study,Kasetsart University. (in Thai).

Netrakas, S. (2010). A Relationship between Profit Management and Growing Opportunity of Registered Companies in the MAI Stock Market. Independent Study, Thammasat University. (in Thai).

Nissim, D. & Ziv, A. (2001). Dividend Changes and Future Profitability. The Journal of Finance, 56(6),2111–2133.

Phirom, A. (2010). Creating Stock Trading Strategy by Using Genetic Algorithms. Thesis, Master of Science Program in Applied Statistics, National Institute of Development Administration. (in Thai).

Pring, M. J. (2011). Explanation of investment psychology: Classic strategies to beat the market. New York: John Wiley & Son.

Pruksamaswong, R. (2003). An Effect of Declaring the Net Profit from Operation towards Change of Stock Price of Registered Company in The Stock Exchange of Thailand. Independent Study, Kasetsart University. (in Thai).

Prutipinyo, C. (2010). Principle of social research. Bangkok: Charoendee Munkong Publishing. (in Thai)

Ramwong, A. (2010). The Stock Price Adjustment on Dividend Payments of the Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. Independent Study, Kasetsart University. (in Thai).

Ross, S. A. & Roll, R. (1976). Arbitrage Theory of Capital Asset Pricing. Journal of Economic Theory, 13,341–360.

Sansurin, R. (2011). Relationship between dividend payout ratio and future earnings growth of listed Company on the Stock Exchange of Thailand. Independent Study, Chiang Mai University. (in Thai).

Sharpe, W. F. (1964). Capital Asset Prices : a Theory of Market Equilibrium Under Condition of Risk.Journal of Finance, 19(3), 425–442.

Shim, J. K. & Siegel, J. K. (2000). Financial Management. Hauppauge, N.Y.: Barron.Siriwattanachai, K. and Khamdet, I. (2014). Decision for stock investment of new generations between 18 -48 years in Bangkok. Journal of Finance, Investment, Marketing, and Business Management,4(1), 521-543. (in Thai).

Srithani, N. (2008). Analysis of Risk and Return for Securities Investment in the Stock Exchange of Thailand with Value at Risk (VAR) Techniques. 6th Research Conference, Kasetsart University Kamphaeeng Saen Campus. (in Thai).

The Stock Exchange of Thailand. (2015a). An analysis on fundamental factors. Retrieve on June, 19th 2016, from http://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content04.pdf. (in Thai)

__________ (2015b). Stock investment strategies. Retrieve on June, 19th 2016, from http://www.set.or.th/education/th/begin/stock_content08.pdf. (in Thai).

__________ (2016). 6 steps of the investment. Retrieve on June, 19th 2016, from http://www.set.or.th/yourfirststock/6steps_01.html. (in Thai).

Trongma, J. (2008). A Test of relationship between the Stock Exchange Index and Economic Growth of Thailand. Thesis, Master of Economics, Chiang Mai University. (in Thai).

Wingwon, B., Meksuwan, A., and Wingworn, B. (2016). Effect of stores image, relationship value, service behavior and repurchasing toward customer loyalty in traditional Retailed Stores. Journal of the Association of Researchers, 21(2), 69-83. (in Thai).