ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์ องค์การของพนักงาน บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) : การวิเคราะห์เส้นทาง

Main Article Content

ปวาฬ ชลศรานนท์
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ความรับผิดชอบ ต่อสังคมและภาพลักษณ์องค์การของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อภาพลักษณ์องค์การ (โดยผ่านความรับผิดชอบต่อสังคม) และศึกษาอิทธิพลทางตรงของความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อ ภาพลักษณ์องค์การของบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 450 คน จำนวนแบบสอบถามที่นำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย มี 420 ชุดข้อมูล โดยมีระดับ ความเชื่อมั่น ร้อยละ 80 การวจิยัพบวา่ 1) แนวคิดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.618 (p<0.01) แนวคิดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับ แนวคิดภาพลักษณ์องค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.531 (p< 0.01) และแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมมี ความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับแนวคิดภาพลักษณ์องค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.423 (p< 0.01) 2) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางตรงต่อภาพลักษณ์องค์การในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (SLgIM, γ = 0.436, p< 0.01) และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์องค์การอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัย สำคญัทางสถติ ิ(CSRgIM, β = 0.154, p< 0.01) 3) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (TFgCOM, γ = 0.618, p< 0.01) ร้อยละ 38.20 ของค่าความ แปรปรวนในปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถถูกอธิบายและทำนายโดยปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 4) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์องค์การทางอ้อมผ่านทางปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับ ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.095 (SLgCSRgIM,γβ(0.436X0.154) = 0.095, p< 0.05) มีค่า R2 = 0.297 โดยร้อย ละ 29.70 ของค่าความแปรปรวนในภาพลักษณ์องค์กาสามารถถูกอธิบายและทำนายโดยปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ นั้น สามารถยอมรับสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ: การสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่าง ยั่งยืน. นนทบุรี:

ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ: LIFE Model. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

References
Asree, S., M. Zain, and M. R. Razalli. (2009). Influence of Leadership competency and organizational culture on responsiveness and performance of firms. Emerald Group Publishing Limited, 500516.

Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. NY: Wiley. A leading, readable text on structural modeling.

Chuan, I. K. (2012). Corporate Social Responsibility: The Opportunity for Strategic Organization Change. Doctor of Philosophy in Organization Development, Benedictine University.

Curran, P. J., S. G. West, and J. F. Finch. (1996). “The robustness of test statistics to nonnormality and specification error in confirmatory factor analysis.” Psychological Methods 1 (1): 16.

Diamantopoulos, A., and J. A. Siguaw. (2000). Introducing lisrel: A guide for the uninitiated (introducing statistical methods series). London: SAGE Publication, Inc.

Duarte, F. (2010). “Working with corporate social responsibility in Brazilian companies: The role of manager’ values in the maintenance of CSR cultures.” Journal of Business Ethics 96(3): 1-14.

Hooper, D., J. Coughlan, and M. R. Mullen. (2008). “Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit.” Electronic Journal of Business Research Methods 6(1): 53-60.

Phiphat Nonthanathon. (2010). Corporate social responsibility management: Creating a sustainable competitive advantage (in Thai)
______(2013). Operational Leadership: LIFE Model. Bangkok: Operational Socauil Enterprise Leadership Center.

Pisarn Pothongsangarun. (2012). Development of Corporate Social Responsibility Leadership Styles of Sugar Mill Industry Group (in Thai)

Ratikorn Jongwisan. (2016). LEADERSHIP: Theories, Research, and Approaches to Development: Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Teeraporn Tongkachok. (2013). The Factors Influencing Corporate Social Responsibility of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand (in Thai)