Confirmatory Factor Analysis of Population's Participation in Tourism Logistics Development Phutthamonthon District Nakhon Pathom Province

Main Article Content

Mano Prachayapipat

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยว รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องของระหว่างโครงสร้างองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยว อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน จำนวน 393 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยว อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระดับค่อนข้างดี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและร่วมตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามผล ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสอง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสวงหาแหล่งสนับสนุนและร่วมบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนผ่านเวทีแสดงความคิดด้วยการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อย และนำเสนอแผนการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนักท่องเที่ยว มีประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลภายนอกได้รับรู้ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งสร้างแรงดึงดูดใจในการร่วมรับผลประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นรายได้เสริมของชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อช่วยเพิ่มรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกและของฝาก                 การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบสาธารณสุขและการให้บริการขนส่งแก่นักท่องเที่ยว ประชาชนในชุมชนมีการพัฒนาทักษะความรู้และสร้างความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่นซึ่งจะทำให้เกิดความใส่ใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีส่วนร่วมกำหนดคัดเลือกบุคลากรในการปฏิบัติงานและตัดสินใจวางกฎระเบียบของกิจกรรมและมีส่วนในการติดตาม ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ สร้างพลังการมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างมีคุณค่าด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยการพึ่งพาตนเองและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่างยั่งยืน

Article Details

Section
Invited Article

References

จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.

ชัยณรงค์ ศรีรักษ์ และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2563). การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมและทัศนคติต่อกิจกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วม ชุมชนบ้านท่าคอย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 7(2), 98-111.

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และ รุจิกาญจน์ สานนท์. (2564). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนแห่งหนึ่งใน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(1), 1-14.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ, ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ และ ธารนี นวัสนธี. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 8-16.

ประจวบ ทองศรี และ มีสกิน ปุนยัง. (2564). การมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia, 7(2), 107-140.

ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนครปฐม. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570) เทศบาลนครนครปฐม. ค้นเมื่อ 5 เมษายน2566 จากhttps://www.nakhonpathomcity.go.th/UploadFolder/20220310_01.pdf

สมหมาย ปานทอง และคณะ. (2564). แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(2), 1-11.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.

Translated Thai References

Charoenchip. J. (2017). Community participation in sustainable tourism management: A case study

of Tham Rong Subdistrict, Ban Lat District, Phetchaburi Province. Information Journal, 16(2), 85-97.

Hankiatwong T.& Sanon. R.(2021). Developing the potential of a sustainable tourism cooperation

network of a community in Huai Kaew Subdistrict, Mae On District, Chiang Mai Province.

Academic journal. Social Sciences Prachachuen Research Network, 3(1), 1-14.

Municipality. (2021). Local development plan (2023 - 2027) Nakhon Pathom Municipality.

Retrieved on 5 April 2023 from https://www.nakhonpathomcity.go.th/

UploadFolder/20220310_01.pdf

Policy and Planning Analysis Department Academic and Planning Division Nakhon Pathom

Panthong S. et al. (2021). Guidelines for managing community participation for tourism

sustainability. Bang Saphan District Prachuap Khiri Khan Province. Journal of Philosophy Review, 26(2), 1-11.

Rattanapongthara, T. et al (2017). Community participation in the development of Ayothaya

community ecotourism. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Social Communication Innovation, 5(2), 8-16.

Srirak C. & Suthipisan. S. (2020). Analysis of participation and attitude towards participatory

community tourism development activities. Ban Tha Khoi Community Si Prachan District Suphanburi Province. Journal of Liberal Arts and Management Sciences, 7(2), 98-111.

Thongsri P. & Punyang. M. (2021). Participation in community tourism development: a case study

of Puyu Subdistrict, Mueang District, Satun Province. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia, 7(2), 107-140.