ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์

Main Article Content

ดร.มนตรี สังข์ทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์จำแนกตามเพศ สาขา คณะ
และศูนย์พื้นที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2553 จำนวน 306
คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (Independent Two Sample t-test) การวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบด้วยสถิติ Welch ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษา
มีความพึงพอใจต่อการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผู้สอน ด้านสื่อการเรียนการสอน
ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับ และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และเมื่อเปรียบ
เทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ สาขา
คณะ และศูนย์พื้นที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ในภาพรวมแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการ ดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชย
ปราการ จำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปาณิตา อาจวงษ์. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิด
วิเคราะห์และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม TAI กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
O-NET ทุกระดับลดฮวบในระยะ 3 ปี คณิต-วิทย์-อังกฤษ อาการหนักสุด. (2554, เมษายน 7). มติชน หน้า 1.
ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2554,จาก http://www2.manager.co.th/Election48/ViewNews.aspx?NewsID=9540000043925
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วิภาวรรณ สิงห์พริ้ง ทัศนีย์ ตันติพิศาลกุล อังสนา จั่นแดง และภุชงค์ แพรขาว. (2549). ความพึงพอใจของ
นักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 29( 4), 541-554.
ศักดา บุญโต. (2544). คณิตศาสตร์มหัศจรรย์: คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อุทัยพรรณ สุดใจ. (2544). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และสิริสรณ์ ทิพกวี. (2546). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชา
ศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
Best, J. W. (1981).Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Wallerstein, H. (1971). Dictionary of psychology. Columbia, MD: Penguin Book.