การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วชิรา เครือคำอ้าย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ 2. การพัฒนารูป แบบการนิเทศฯ 3. การทดลองรูปแบบการนิเทศฯ 4. การประเมินรูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่ เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัด เชียงใหม่ เมื่อรูปแบบการนิเทศผ่านผู้เชี่ยวชาญได้นำมาทดลองใช้กับสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างรวม จำนวน 60 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร สถานศึกษา ผู้นิเทศก์ และผู้รับการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกผลการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการชี้แนะ และระบบพี่เลี้ยง แบบบันทึกการรับการนิเทศ แบบตรวจสอบพฤติกรรมการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง และแบบประเมิน รูปแบบการนิเทศฯ นำผลมาวิเคราะห์ข้อมลูเชิงคณุภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณนาความ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณ โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการนิเทศ ชื่อว่า “ดับเบิ้ลพีแอลซีเอ พลัส (PPLCA Plus) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หลักการ เงื่อนไขสำคัญ และองค์ประกอบของรูปแบบมี 5 องค์ประกอบ คือ 1. ขั้นเตรียมความรู้ก่อนการนิเทศ (Preparing: P) 2. ขั้นวางแผนและออกแบบการนิเทศ (Planning: P) 3. ขั้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติการนิเทศ (Learning and Sharing: L) 4. ขั้นการนิเทศด้วยกระบวนการ ชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring: C) 5. ขั้นสะท้อนคิดหลังการนิเทศ (After Action Review: A) และ เกิดข้อค้นพบ (Body of Knowledge) ระหว่างการวิจัย คือ การน้อมนำหลักการทรงงานและศาสตรข์องพระบาทสมเดจ็ พระเจา้อยหู่วัฯ รชักาลท ี่9 (King Bhumibol’s Science) มาเปน็แนวทางในการปฏบิตัใินทกุๆ องค์ประกอบ เพิ่มเติมรูป แบบการนิเทศ คือ พลัส (Plus) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า ผู้รับการนิเทศสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 พร้อมนำมาใช้ในการสอน ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 83.33 ส่วนผลการตรวจสอบพฤติกรรมการชี้แนะ และระบบพี่เลี้ยง จากผู้นิเทศก์และผู้รับการนิเทศ พบว่า อยู่ในระดับมาก เช่นกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73, 2.80 (จากค่าเฉลี่ย 3 ระดับ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55, 0.48 สำหรับประเด็นที่มีความเห็นสอดคลอ้งกนัมากทสี่ดุ คอื การรว่มกนักำหนดเปา้หมายในการจดัการเรยีนร ู้และเปดิโอกาสใหผ้รู้บัการนเิทศไดแ้ลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ที่มีแววความ สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพน์ธ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสตูร และการสอนบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดารณีย์ พยัคฆ์กุล และ วีระศักดิ์ ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(4), 161-174.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยคุการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสามดีไซน
ปนัดดา หมอยา และ ธรินธร นามวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร. 15(69), 52-61.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์
วชิรา เครือคำอ้าย และ ชวลิต ขอดศิริ. (2561). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและ ระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์
วรลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังข์ทอง และ ชวลิต เกิดทิพย์. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สู่การเรียน รู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 12(2), 123-134.
สำนกับรหิารงานการมธัยมศกึษาตอนปลาย, กระทรวงศกึษาธกิาร. (2553). แนวทางการจดัการเรยีนรใู้นโรงเรยีนมาตรฐาน สากล. กรงุเทพฯ: สำนกังานคณะกรรมการการศกึษาขนั้พนื้ฐาน.
Banathy, B.H. (1968). Instructional System. Belmont, California: Fearow.
Bellanca, J., and Brandt, R. (2011). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Victoria: Hawker Brownlow Education.
Cogan, M. (1973). Clinical Supervision. Boston: Houghton Mifflin.
Dick, W., and Carey, L. (1985). The Systematic Design of Instruction. Scott: Foresman Pearson Publisher.
Gerlach, V.S., and Ely, D.P. (1980). Teaching and Media: A Systematic Approach. (2nded.) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Incorporated.
Knirk, F.G., and Kent L.G. (1986). Instructional Technology: A Systematic Approach to Education. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Knowles, M.S. (1989). The Making of an Adult Educator: An Autobiographical Journey. San Francisco: Jossey-Bass.
Merrill, M.D., Drake, L., Lacy M.J., Pratt, J., and the ID2 Research Group. (1996). Reclaiming Instructional Design. Educational Technology, 36(5), 5-7.
Mink, O.G., Owen, K.Q., and Mink, B.P. (1993). Developing High-Performance People: The Art of Coaching. Reading, Massachusetts: Addisor – Wesley.
Richey, R.C. (1986). The Theoretical and Conceptual Bases of Instructional Design. New York: Nichols.
Seels, B., and Glasgow, Z. (1990). Exercises in Instructional Technology. Columbus OH: Merrill Publishing Co.
Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday, New York: MCB UP Ltd.
Sergiovanni, T.J. (1994). Building Community in Schools. San Francisco: Jossey-Bass.

Translated Thai References
Bureau of Administration of Secondary Education. Ministry of Education. (2010). Guidelines for Learning Management in International Standard Schools. Bangkok: Office of The Basic Education Commission. (in Thai).
Chookamnerd W., Sungtong E., and Kerdtip C. A Model of a Professional Learning Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Hatyai Journal, 12(2), 123-134. (in Thai).
Kruekamai W. (2015). Educational Supervision. Chiang Mai: S. Printing. (in Thai).
Kruekamai W., and Kodsiri C. (2018). Full Research Reports Research Project to The Development of Coaching and Mentoring Supervision to Enhance Learning Management in 21st Century in The Service Area of The Office of The Basic Education Commission in Chiang Mai Province. National Research Council of Thailand (NRCT) with Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai).
Laohajaratsang T. (2018). Innovative Educational Information Technology for Thailand 4.0 Era. Chiang Mai: Tong Sam Design. (in Thai).
Morya P., and Namwan T. (2018). Development of Supervision System by Coaching in School of The Secondary Educational Service Area Office 24. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal. 15(69), 52-61. (in Thai).
Panich V. (2012). The 21st Century Skills: Learning Skills. (3rd ed.) Bangkok. Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai).
Payakkul D., and Chomphucome W. (2016). The Development of Educational Supervision’s Competency of Professional Supervision. FEU Academic Review. 10(4), 161-174. (in Thai).
Sungchai K. (2009). The Development of Science Teachers’ Instructional Supervision Model for Developing Academic Capabilities of Science Talented Students. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai).