การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิงสกุลช่างกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดแพร่

Main Article Content

ภัทราวดี ศิริวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่าง กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่ เป็นการศึกษาต่อ เนื่องจากโครงการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัด แพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวม อาคารที่มีการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย รวบรวม คัดลอก วิเคราะห์ และจัด กลุ่มลวดลายแบบขนมปังขิง ที่ปรากฏในเขตพื้นที่ จ.กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่ เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่นภาคกลางและภาคเหนือ ก่อการรื้อ ถอนทำลาย หรือเสื่อมสภาพ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเรียน การสอนทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือปรับปรุงตกแต่งอาคาร และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการศกึ ษาดงั กลา่ ว ไดใ้ชข้ อ้ มลู จากผลการศกึ ษารปู แบบสถาปตั ยกรรมเรอื นขนมปงั ขงิ ในประเทศไทย กรณศี กึ ษา กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่ เป็นหลักการสำรวจภาคสนามจากแหล่งสถานที่จริงโดยมีอาคารที่มีการตกแต่งด้วย ลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง จำนวน 12 หลัง หรือเป็นลวดลายไม้ฉลุ 156 แบบลาย ทำให้ทราบได้ว่าอาคารที่มีการ ตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง เป็นอาคารที่เป็นที่นิยมมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 และความนิยมลด น้อยลงในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาคารส่วนใหญ่อยู่ที่เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ และอำเภอเมือง จ.นครปฐม และอำเภอเมือง จ.แพร่ อาคารดังกล่าวได้รับอิทธิพลตะวันตกแพร่เข้ามาในกรุงเทพฯ อาคารที่ตกแต่งด้วยลวดลายแบบขนมปังขิง จะไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับช่าง ทราบเพียงส่วนใหญ่เป็นช่างในท้อง ถิ่น ช่างจีน และบางส่วนเป็นการสั่งซื้อไม้ฉลุลายจากพระนคร ในการตกแต่งตัวอาคารจะนิยมนำไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ประดับตกแต่งบริเวณเหนือบานประตูแบบบานเฟี้ยมและ บานหน้าต่าง ตกแต่งบริเวณคอสอง ใต้ฝ้าเพดาน ระบายชายคา ระบายชายคากันสาด-หน้าต่าง ลูกกรง ระเบียง และค้ำ ยันชายคา สำหรับลวดลายแบบขนมปังขิง มีทั้งตัวลายที่เกิดจากพื้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นลายตามตั้ง และแนวนอน เป็น ลวดลายที่มีความโปร่ง อ่อนช้อย เส้นคดโค้ง ลื่นไหล และบางส่วนเป็นแบบหงิกงอ ลักษณะลวดลายที่เด่นชัด คือ ลายก้าน ขดพันธุ์พฤกษา โดยแตกลายเป็นกิ่งก้าน ช่อดอกและช่อใบลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะรูปดอกทิวลิป ที่นับเป็นแบบฉบับของ ลายแบบขนมปังขิง อีกลักษณะหนึ่ง คือ ลวดลายที่เกิดจากช่องว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นลายในแนวตั้ง โดยฉลุเป็นช่องปิดรูป แบบต่างๆ และฉลุเป็นช่องเปิดที่ต้องต่อเชื่อมกับไม้แผ่นอื่นที่ฉลุแบบเดียวกัน ทั้งนี้ ลายจากช่องฉลุจะเป็นลวดลายที่เกิด จากไม้ 2 แผ่น ประกอบแบบที่ฉลุซ้ายขวาเหมือนกัน และแบบที่ซ้ายขวางต่างกัน หรือเป็นลายแผ่นเดียว แต่นำมาจัดเรียง ต่อ ซึ่งรูปแบบของช่องฉลุที่นิยมคือ รูปลูกน้ำ ใบไม้ ดอกไม้สามกลีบ ดอกไม้สี่กลี โดยส่วนใหญ่เมื่อประกอบลายแล้วจะมี ลักษณะเหมือนช่ออุบะแบบต่างๆ คั่นด้วยลายอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สุนทรีภาพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
พระราชวชิรโมลี. เจ้าอาวาสวัดสวนพลู. (17 กุมภาพันธ์ 2561). สัมภาษณ์.
ภรดี พันธุภากร. (2547). การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่างจันทบุรี. ชลบุรี : กรมศิลป์การช่าง
ภัทราวดี ศิริวรรณ. (2559). การศึกษารูปแบบเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย กรณีศึกษากรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัด แพร่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี
ภาวินี ตรีชัยยุทธ์. เจ้าหน้าที่พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม. (30 กันยายน 2560). สัมภาษณ์.
วรชยา จิโนรส. นักวิชาการศึกษา สำนักศิลปะวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (19 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
วรพล ภาโนมัย. เจ้าหน้าที่จิตอาสา คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่. (23 พฤษภาคม 2561). สัมภาษณ์.
สหยศ วงศ์บุรี. เจ้าของบ้านวงศ์บุรี. (21 พฤษภาคม 2561). สัมภาษณ์.
สำนักพระราชวัง. (2555). พระที่นั่งวิมานเมฆ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชิ่ง จำกัด.
อุกฤษ มงคลนาวิน. ประธานมูลนิธิ ศ.ดร.อุกฤษ-ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน (17 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.

Translated Thai Reference
Department of Archaeology, Fine Arts Department, Ministry of Culture. (2017). Gingerbread Fretwork, Aesthetics of Rattanakosin. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (In Thai).
Paradee Panthupakorn. 2004. Study and Collection of Gingerbread Fretworks in Thailand, Chanthaburi Artisan Clan. Chon Buri: Department of Artisans (In Thai).
Patravadee Siriwan. (2016). Study of Gingerbread Patterns in Thailand, Case Study: Bangkok and Its Vicinity and Phrae Province. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi Nonthaburi Bureau of the Royal Household. 2012. Vimanmek Mansion. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Company Limited. (In Thai).
Worapol Panomai, Volunteering Official of Khum Chao Luang Mueang Phrae. (May 23, 2018). Interview. (In Thai).
Sahayot Wongburi. Owner of Baan Wong Buri. (May 21, 2018). Interview. (In Thai).
Phra Ratchawachiramoli. Abbot of Suan Plu Temple. (February 17, 2018). Interview. (In Thai).
Worachaya Jinorot. Educationist, Office of Arts and Culture. Ban Somdet Chao Phraya Rajabhat University. (March 19, 2018). Interview. (In Thai).
Pawinee Trichaiyut. Official of Sanam Chan Palace, Nakhon Pathom Province. (September 30, 2017). Interview. (In Thai).
Ukrit Mongkolnavin. Chairperson of Prof. Dr. Ukrit-Thanpuying Monthinee Mongkolnavin Foundation (March 17, 2018). Interview. (In Thai).