ความสามารถของข้อมูลทางบัญชีในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุน

Main Article Content

อัญชลี วิรุฬห์จรรยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทางบัญชีประกอบด้วยกำไรสุทธิและมูลค่า
ตามบัญชีของข้อมูลตามวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุนกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์รวมทั้งทำการเปรียบเทียบ
ความสามารถของข้อมูลทางบัญชีระหว่างวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุนในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลัก
ทรัพย์โดยศึกษาจากข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2550-2553
พบข้อมูลของบริษัทที่มีเงินลงทุนในบริษัทร่วมและไม่มีเงินลงทุนในบริษัทย่อย รวมทั้งมีข้อมูลการซื้อขาย ณ ช่วง
เวลาที่ทำการศึกษาทั้งสิ้น 72 บริษัท
วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regressions) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรอิสระคือข้อมูลทางบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียและตามวิธีราคาทุนกับตัวแปรตามคืออัตราผลตอบแทน
ของหลักทรัพย์และใช้วิธี Vuong test เปรียบเทียบความสามารถของข้อมูลทางบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียและตามวิธี
ราคาทุนในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์
ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลทางบัญชีที่ทำการศึกษาประกอบด้วยกำไรสุทธิและมูลค่าตามบัญชีทั้งจากวิธีส่วน
ได้เสียและจากวิธีราคาทุนต่างมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบ
ความสามารถในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์พบว่า ข้อมูลทางบัญชีตามวิธีราคาทุนมีความสามารถ
ในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ได้มากกว่าข้อมูลทางบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บังอร เกียรติสุข. (2551, มีนาคม 1). วิธีราคาทุนกับวิธีส่วนได้เสีย. หนังสือพิมพ์โลกวันนี้.
ปัญญา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. (2545). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถของกำไรทางบัญชีและ
มูลค่าตามบัญชีในการใช้อธิบายราคาหลักทรัพย์หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี วิรุฬห์จรรยา. (2554). งบการเงินของบริษัทในเครือตามมาตรฐานการบัญชีฉบับปัจจุบัน.
วารสารนักบริหาร, 31(2), 89-94.
Collins, W. D., Maydew, L. E., & Weiss, S. I. (1997). Changes in the value-relevance of earnings
and book values over the past forty years. Journal of Accounting and Economics, 24, 39-67.
Dechow, P. M. (1994). Accounting earnings and cash ffllflows as measures of fififfiirm performance. Journal
of Accounting and Economics, 18(1), 3-42.
Devalle, A., Magarini R., and Onali E. (2010). Assessing the value relevance of accounting data after
the introduction of IFRS in Europe. Journal of International Financial Management &
Accounting, 21, 85-119.
Easton, P. D., & Harris, T. S. (1991). Earnings as an explanatory variable for returns. Journal of
Accounting Research, 29 (Spring), 19-36.
Graham, R. C. & Lefanowicz, C. E. (1996). Evidence of the relation between accounting for
equity investments and equity valuation. Journal of Accounting, Auditing, and Finance,
11(4), 587-605.
Kothari, S., & Zimmerman, J. (1995). Price and return models . Journal of Accounting and
Economics, 20(2), 155–192.
Narktabtee, K. (2010). The Value relevance of accounting information in Asian countries.
Nida Business Journal, 6, 125-144.
Ohlson, J. (1995). Earnings, book values and dividends in equity valuation. Contemporary Accounting
Research, 11(2) 661–687.
Salamon, G. L., & T. L. Stober, T. L. (1994). Cross-quarter differences in stock price responses to
earnings announcements: Fourth-quarter and seasonality Inflfflluences. Contemporary
Accounting Research, 11 (Fall), 297- 330.