การพัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์การภาครัฐในเขตอาเซียน: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาในเขตอาเซียน 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาในเขตอาเซียนในระดับบุคคล และระดับสาขาวิชา และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาของประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศราช อาณาจักรกัมพูชา โดยเก็บข้อมูลจากนิสิต/นักศึกษาจำนวน 1,200 คน จากจำนวน 120 สาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประสิทธิผลองค์การของ Cameron (1978, 1986) ถูกวัดจาก 9 ตัวแปร ผลของการตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.718 – 0.898 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ บรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโดยใช้โปรแกรม Mplus ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) โมเดลการวัดประสิทธิผลภาครัฐในเขตอาเซียนตามการรับรู้ของนิสิต/นักศึกษา พบว่าในระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาตัวแปรทุกตัวมีความสำคัญอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน สำหรับระดับบุคคลตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาบุคลิกภาพนิสิต/นักศึกษา ในขณะที่ตัวแปรระดับสาขาวิชาที่มีความสำคัญมากที่สุดคือความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างไรก็ตามสุขภาพขององค์การมีความสำคัญน้อยที่สุดทั้งระดับบุคคลและระดับสาขาวิชา 2) โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับประสิทธิผลภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาในเขตอาเซียนมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาสามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลภาครัฐในเขตอาเซียนได้ร้อยละ 76.90 และ 77.90 ตามลำดับ และ 3) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาในเขตอาเซียนมีความแปรเปลี่ยนด้านโมเดลระหว่างประเทศไทยประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ส่วนข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นสถาบันการศึกษาแยกแต่ละประเทศ และเพิ่มข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
ภัทราวดี มากมี. (2553). การพัฒนารูปแบบการวัดประสิทธิผลองค์การสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย (Journal of Research Methodology),23(1), 55 - 75.
รัชกร โชติประดิษฐ์ และคณะ. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของส่วนผสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการเลือกเข้าพักที่โรงแรม จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย (Journal of the Association of Researchers), 20(2), 94 - 104.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). ข้อมูลสารสนเทศอุดมศึกษาเชิงสถิติ[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mua.go.th/student.php[15 ม.ค. 2557]
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ. พริกหวานกราฟฟิค.
สุชาติ เอกปัชชา สุทธนู ศรีไสย์ และจินต์ วิภาตะกลัศ. (2557). ประสิทธิผลการบริหารจัดการโรงเรียนดีประจำตำบลในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย (Journal of the Association of Researchers), 19(1), 47-58.
สุภัทรา วีระวุฒิ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารและพัฒนา, 3(3), 111-126.
อุบล ทัศนโกวิท และคณะ. (2558). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอผ่านการรับรู้ของครู. วารสารสมาคมนักวิจัย (Journal of theAssociation of Researchers), 20(1), 146-157.
Cameron, K. S. (1978). Measuring organizational-effectiveness in institutions of higher-education. Administrative Science Quarterly, 23: 604-632.
Cameron, K.S. (1986). A study of organizational effectiveness and its predictors. Management Science,32: 87-112.
George, D., and Mallery, P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and refernce. 4th ed.Boston: Allyn & Bacon.
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., and Donnelly, J. H. (2000). Organizations: Behavior, Structure, Processes.10th ed. Boston: McGraw-Hill.
Goodman, P. S., and Pennings, J. M. (1980). Critical Issues in Assessing Organizational Effectiveness.In Lanler, E.E., and Seashore, S. E. (eds.), Organizational Assessment Perspective on the Measurement of Organizational Behavior and the Quality of Work Life. New York: John Wiley & Son.
Harrison, M. I. (1994). Diagnosing Organizations Methods, Models and Process. London: Sage Publications.
Hox, J. J., and Maas, C. J. M. (2001). The accuracy of multilevel structural equation modeling with pseudobalanced groups and small samples. Structural Equation Modeling, 8: 157-174.
Katz, D., and Kahn, R.L. (1978). The Social Psychology of Organizations. 2nd ed. New York: John Wiley &Son.
Muthén, L. K., and Muthén, B.O. (2012). Mplus: The Comprehensive Modeling Program for AppliedResearchers user’ s guide, Version 7.00. Los Angeles, CA: Muthén & Muthén.
Price, J. L., and Mueller, C. W. (1986). Handbook of Organizational Measurement. Massachusetts: Pitman.
Schumacker, R. E., and Lomax, R. G. (2004). A beginner’s guide to structural equation modeling.Lawrence Erlbaum.
Steers, R. M. (1977). The Organizational effectiveness : a behavioural View . Goodyear Publishing,Santa Monica. California.
Stufflebeam, D. L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Bloomington: Phi Delta Kappa.