การพัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงอนุมาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านกลยุทธ์โปรโมชั่น มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริการ ด้านการติดตามพัสดุ ด้านการชำระเงิน ด้านระยะเวลาการจัดส่งพัสดุ และด้านประกันความเสียหาย ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านการบริการ ปัจจัยด้านประกันความเสียหาย ปัจจัยด้านการชำระเงิน และปัจจัยด้านกลยุทธ์โปรโมชั่น สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรต้นที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือปัจจัยด้านกลยุทธ์โปรโมชั่น มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์เท่ากับ 0.488 ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจเลือกใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 75.90 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±0.225 ดังนั้น ผู้ประกอบการขนส่งพัสดุสามารถพิจารณาการนำกลยุทธ์ในการพัฒนาทั้ง 4 ด้านไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการ ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้บริการและดึงดูดผู้ใช้บริการให้มาใช้บริการ
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
ชนิดา พัฒนกิตติวรกุล. (2553). E–word of Mouth มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคบนอินเตอร์เน็ตกรณีศึกษา E-marketplace ในประเทศไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2549). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับอนาคตของภาคธุรกิจไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256206 TheKnowledge_ April.aspx
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจพร สุวรรณแสนทวี .(2559).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ปรียานุช ศิริไพบูลย์ทรัพย์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Kerry Express ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
มิรา โกมลวณิช และ ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2557). การสื่อสารบุคลิกภาพตราสินค้าผ่านบรรจุภัณฑ์น้ำหอม. วารสารการประชาสัมพันธ์และโฆษณา, 7(2), 59-77.
วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการบริการโฮมสเตย์ในเกาะยอ. WMS Journal of Management Walailak University, 5(1), 60-73.
วีรวัฒน์ มณีสุวรรณ และธนัญญา วสุศรี. (2557). การจัดการกรีนโลจิสติกส์กับศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 37(2), 215-226.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์ และองอาจ ปทะวานิช. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.
ศิลป์ชัย อุ่นอรุณ. (2554) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการ การปฏิบัติงานเพื่อกำจัดความสูญเปล่าและประสิทธิภาพการขนส่งทางบก กรณีศึกษา บริษัท เอ็น เอ็ม แอล จำกัด (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน. 10 ปีอุตสาหกรรมไทยเรามาไกลแค่ไหน. https:// www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_165.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสํารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ในครัวเรือน พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://www. nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%E0%__97%E0%B8%B5% E0%B9%88% E0%B8%AA%E0% B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D_Q1.pdf
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สําหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aaker, D.A. (1991). Managing brand equity. New York: The Free.
Avis, M. (2015). Brand personality factor based models: A critical review. Australasian Marketing Journal, 20, 89-96.
Gronroos, C. (2000). Service Management and marketing: A customer relationship management approach (2nd). UK: John Wiley & Sons.
Mayer, Davis, & Schoorman, (1995). An integrative model of organizational trust, Retrieved March, 9, 2019, from https://psycnet.apa.org/record/1995-45592-001
McCollough, Michael A., Berry, Leonard L., Yadav, Manjit S. (2000). An Empirical Investigation of Customer Satisfaction after Service Failure and Recovery, from https://doi.org /10.1177/109467050032002
Thorelli, H. (1986). Networks between Markets and Hierarchies. Strategic Management Journal, 7, 37-51.