การเห็นคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งของจิตใจ กับการดูแลตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ตวัน ประทุมสุวรรณ
บัวทอง สว่างโสภากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ระดับความแข็งแกร่งของจิตใจและระดับการดูแลตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการดูแลตนเองของนักเรียน ตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการดูแลตนเองของนักเรียน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งของจิตใจกับการดูแลตนเองของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์  สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 333 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง และความแข็งแกร่งของจิตใจของนักเรียนอยู่ในระดับสูง  ส่วนการดูแลตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักเรียนที่มีเพศ และระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน มีการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   3) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความแข็งแกร่งของจิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2561). กรมอนามัย จับมือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ลงนาม MOU ความร่วมมือ ขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย สังคมไทยรอบรู้ด้านสุขภาพ (Online). https://anamai.moph.go.th/th/news-anamai/17131 28 พฤจิกายน 2562.

กรมสุขภาพจิต. (2552). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต Resilience Quotient. นนทบุรี: สำนักพัฒนา

สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

จินดาพร แสงแก้ว. (2541). การเปรียบเทียบผลของกำรใช้กลุ่มสัมพันธ์กับกลุ่มสัมพันธ์แบบมาราธอนเพื่อพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองของเด็กบ้านอุปถัมภ์มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยา ตากวิริยานันท์. (2552). ทฤษฎีความสำเร็จในการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยง. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภารนา บุญมุสิก และคณะ. (2554). “พฤติกรรมสุขภาพและความต้องการการดูแลด้านสุขภาพของวัยรุ่นเร่ร่อน.” วารสารสภาการพยาบาล 26: 81-94

สยมภู ชูเลิศ. (2553). ประสบการณ์ความเข้มแข็งอดทนที่ผ่านการบ่มเพาะของนักเรียนเตรียมทหาร ตำแหน่งนักเรียนบังคับบัญชา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธนี ลิกขะไชย. (2554). “ผลของการใช้โปรแกรมต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร” วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 11(4): 144-153.

Kobasa, S. C. (1979). “Stressful life events, personality, and health: An inquiry into hardiness.” Journal of Personality and Social Psychology. 37 (1): 1-11.

Maslow, A. (1970) Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Orem, D. E. (1985). Nursing: Concept of Practice. 3rd ed. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Osborne, J. (1996). Beyond constructivism. Science Education, 80(1), 53-82.

Reivich, K., and A. Shatte. (2003). The Resilience Factor: 7 Keys to Finding Your Inner Strength and Overcoming Life's Hurdles. New York: Broadway.

Translated Thai References

Department of Health. (2018). The Department of Health joins hands with the Faculty of Public Health, Mahidol University to sign an MOU for cooperation to drive

Department of Mental Health. (2009). Change bad to become good. Mental Health Power Resilience Quotient. Nonthaburi: Development Agency.Mental Health Department of Mental Health.

Jindaporn Saengkaew. (1998). Comparison of the Effects of Using a Marathon Relation Group to Develop Self-Esteem of Children at Ban Uppatham, The Creation of Children Foundation. Master of Education Thesis, Srinakharinwirot University.

Knowledge of Thai people's health Thai society is well versed in health (Online) .https: //anamai.moph.go.th/th/news-anamai/17131 November 28, 2019.

Nittaya Takwiriyanan (2009). The theory of adaptation success of individuals at risk. Pathum Thani: Thammasat University.

Pawana Boonmusik et al. (2011). “Health behavior and health care needs of homeless adolescents.”Journal of Nursing Council 26: 81-94

Sayomphoo Chulert. (2010). Experiences of strength and endurance through the nurturing of military preparation students. Student commanding position. Master of Arts Thesis Department of Counseling Psychology, Chulalongkorn University.

Suthanee Likkhachai. (2011). “Effect of using the program on self-esteem. Of students in secondary school year 1-3 Loi Sai Memorial School Ladprao District Office Bangkok "Academic Journal Sripatum Chonburi. 11 (4): 144-153.