แนวทางการพัฒนาเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านซ่อง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

suriyasak mangkornkaewwikul
Ekkachai Chaida
Pramuan Noisong

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 61 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การนำองค์การ การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การบริหารจัดการกระบวนการ การวางแผนกลยุทธ์ และการมุ่งเน้นทรัพยากรโดยลำดับ (2) แนวทางการพัฒนาเทศบาลสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมายและค่านิยมขององค์กร การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่และเทคโนโลยี การสรรหาบุคลากรที่มีทักษะ ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม การมอบหมายคนให้เหมาะกับงาน การควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษามีดังนี้คือ เทศบาลตำบลควรมีระบบควบคุมและการประเมินผลการปฏิบัติงานและนำเสนอข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ควรจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ที่เพียงต่อการทำงาน ควรฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารองค์การท้องถิ่นและเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงต่อการทำงาน และควรได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Channuwong, S. (2018). The relationship between good governanceprinciples and organizational

justice: A case study of Bangkok Government Official. Asia-Pacific Social Science Review,18 (3), 43-56.

Channuwong, S. & Montrikul Na Ayudhaya, B. (2017). An applicationof good governance principles

influencing organizational justice. Journal of Community Development Research, 10(3), 36-

Jiamsripong, W. (1999). Teaching documents on local administrative organization. Pitsanulok:

Naresuan University.

Likitthammarot, P. (2013). Government finance and local government finance. Bangkok: Odian

Store.

Mangkornkaewwikul, S. & Siriwatthanakul, S. (2020). Problems in implementation of public policy of

local government Organization: A case study of Sao-cha-ngok Sub-district Administration

Organization. Journal of Arts Management, 4(2), 205-221.

Pol-anan, T. (2003). Focusing on human resources: Ways to create employee satisfaction. Bangkok:

Innographic.

Rueksarai, D. (1984). Countryside development: Focusing on social development based on basic

need concept. Bangkok: Kasetsart University Office for Improvement and Training.

Srirattanabanlang, J. (2020). Hospitality quality indicators. Nonthaburi: Institute for Hospital

Development and Quality Assurance.

Sakulcharoenporn, S. (2010). Strategies for personal developmentof Nakorn Pathom Provincial

Administrative Organization. Master’s thesis in Public Administration, Graduate School,

Mahidol University.

Sanyawiwat, S. (1996). Theories of sociology: Creating, evaluation and usage. Bangkok.

Chulalongkorn University indicators of Press.

Thattamle, N. (2003). A development of standard and service quality of police stations. Doctoral

dissertation, Khon Kaen University.