คุณลักษณะของร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และระดับความสำคัญของคุณลักษณะของร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นผู้ที่เคยและไม่เคยใช้บริการร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Cochran และทำการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านช่องทาง Google Form สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย Chi-Square One-way ANOVA และ t-test ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย อายุ 31–40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้เฉลี่ย 30,001–40,000 บาท ต่อเดือนผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มตัวอย่างจะพิจารณาร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาจากคุณลักษณะด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์กัญชาและด้านความสะดวกในการเดินทางเป็นลำดับแรก 3) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการให้ระดับความสำคัญกับคุณลักษณะของร้านขายผลิตภัณฑ์กัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ม.หอการค้าไทย เผยธุรกิจกัญชา-กัญชง 3 ปี โต10-15% มูลค่ากว่า 4.2 หมื่นล้านบาท. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1016632.
ชญาดา มะลินิน และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2565). คุณลักษณะของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 27(2), 135-149.
ธัญวลัย บุญมาก และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อการใช้กัญชาของประชากรในเขตภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(2), 69-85.
นรพรรณ รัตนพิบูลย์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2565). คุณลักษณะของร้านอาหารที่มีเมนูกัญชาที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 27(2), 71-87.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). รวมบทความว่าด้วย...ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ:ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). “กัญชา” จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจไทย ได้หรือไม่?. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/FB-Cannabis-14-01-20.aspx.
สถาบันกัญชาทางการแพทย์. (2565). ใช้ กัญชา อย่างเข้าใจ รับ รู้ ปรับใช้ เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย. สืบค้นจาก https://cannabis.fda.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/06/manual_use_Cannanbis130665.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). องค์ความรู้พืชเสพติด กัญชา. สืบค้นจาก https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/Forms/AllItems.aspx.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.
Kotler, P. (2014). Marketing managemen. (14th Ed.). Pearson Education: Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. (14th Ed.). New Jersey: Pearson.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior: Its origins and strategic Applications. Consumer Behavior. (9th Ed.). New Jersey: Pearson Prentice.
Tybout, A. M. & Calder, B. J. (2010). Kellog on Marketing. (2nd Ed.). New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Translated Thai References
Bangkokbiznews. (2022). The University of the Thai Chamber of Commerce reveals that the marijuana and hemp industry is expected to grow 10-15% in the next 3 years with a value of over 420 billion baht. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/business/1016632. (in Thai).
Boonmark, T. & Nonthanathorn, P. (2021). Knowledge, Attitude, and Practice towards Cannabis Use Among People in Central Region. Journal of the Association of Researchers. 26(2), 69-85. (in Thai).
Kasikorn Research Center. (2020). Will "marijuana" become a Thai economic crop?.
Retrieved from https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/FB-Cannabis-14-01-20.aspx. (in Thai).
Malinin, C. & Nonthanathorn, P. (2022). Product Attributes of Medical Cannabis Clinic Affecting to Choice of Service of Consumers in Bangkok Metropolitan. Journal of the Association of Researchers. 27(2), 135-149. (in Thai).
Medical Cannabis Institute. (2022). Use canabis with understanding, awareness, and adaptation for a healthy and safe lifestyle. Retrieved from https://cannabis.fda.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/06/manual_use_Cannanbis130665.pdf. (in Thai).
Nonthanathorn, P. (2018). On Social Responsibility. Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai).
Office of the Narcotics Control Board. (2019). Knowledge of addictive plants, cannabis. Retrieved from https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/Forms/AllItems.aspx. (in Thai).
Rattanapiboon, N. & Nonthanathorn, P. (2022). Product Attributes of Restaurants with Cannabis Menus Selected by Consumers in Bangkok Metropolitan. Journal of the Association of Researchers. 27(2), 71-87. (in Thai).