มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม
Keywords:
มลพิษทางอากาศ;, อากาศ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน; วิธีการเพื่อความปลอดภัยAbstract
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (5) หรือ (7) ไว้ว่าปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท แล้วแต่กรณี บทลงโทษดังกล่าวอาจไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานซึ่งส่วนมากเป็นนิติบุคคลเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าฝ่าฝืนกฎหมาย จึงควรเพิ่มอัตราโทษปรับในกรณีดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับค่าของเงินในปัจจุบัน นอกจากนี้ถ้ามีการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วย ก็จะช่วยให้การใช้บังคับกฎกระทรวงดังกล่าวมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่า ในการดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (5) หรือ (7) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ให้พนักงานอัยการโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาหรือสั่งให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่จำเลยตามสมควรแก่กรณีด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 60 บัญญัติว่าในกรณีที่มีการประกาศกำหนดให้ท้องที่ใดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในท้องที่นั้นจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษนั้น อย่างไรก็ตามแผนปฏิบัติการไม่ใช่กฎหมาย ถ้าผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในแผนปฏิบัติการดังกล่าว ก็ไม่มีความผิดแต่อย่างใด จึงควรแก้ไขกฎหมายให้มีผลให้ข้อกำหนดในแผนปฏิบัติการดังกล่าวมีสภาพบังคับตามกฎหมายด้วย
The Factory Act, B.E. 2535 designates penalties for any person violating or failing to comply with the ministerial regulations prescribed pursuant to Section 8 (5) or (7) of the Factory Act, B.E. 2535 to be fined not exceeding two hundred thousand Baht or not exceeding twenty thousand Baht as the case may be. However, such penalties may not be adequate to intimidate factory operators, most of which are legal entities, to cease violating the law. Therefore it is deem expedient to improve rate of fine for such offences to make it appropriate for the present value of money. In addition, there should be measures for safety which shall increase the effectiveness of the ministerial regulations. Moreover, there should be an amended provision that the public prosecutors can raise an action in court against the violators of this act under Section 8 (5) or (7) and ask the court to issue the judgment or order for the aforesaid measures. The Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535, Section 60 states that in case of the National Environment Board designates any locality as a pollution control area, the local official shall set up an action plan for the reduction and eradication of pollution in such area. However, the action plan is not a law. If a factory operator does nothing about what designated in the action plan, he shall not be guilty of any offence. It is recommended that it should become law for legal enforcement.
References
Department for Environment, Food and Rural Affairs, Summary of Environment Protection Act [Online]. 2011. University of Hertfordshire, England (Distributer). Available from : https://adlib.everysite.co.uk/adlib/defra/content.aspx?i
[2 December 2013].
McCarthy, James E. et.al. Clean Air Act : A Summary of the Act and Its Major Requirements. Congressional Research Service Report 7 – 5700 [Online]. 2011. Available from : https://fpc.state.gov/documents/organization/155015 [3 June
2014].
Royal Thai Government Gazette. 109, 37 (4 April 1992) : 1 – 43.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย