แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก: กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • วรรณา ทองเย็น

Keywords:

การจัดการการตลาด; ปัจจัยส่วนประสมการตลาด; ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการการตลาดสำหรับธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกขนาดเล็กประเภทเครื่องดื่มในตู้แช่ ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านส่งเสริมการตลาด โดยภาพรวมให้ความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านสถานที่จัดจำหน่าย โดยภาพรวมให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและการศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้าน   ค้าปลีก สำหรับอายุ อาชีพและรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกขนาดเล็ก พบว่าการส่งเสริมการตลาดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความถี่ในการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และลักษณะของทำเลที่ตั้งด้านการส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดทั้ง 4 ด้าน สามารถนำมากำหนดเป็นแนวทางการจัดการการตลาดของธุรกิจ เพื่อใช้ในการแข่งของร้านค้าปลีกขนาดเล็กได้

The purposes of this research were to study consumers behavior toward small retailers, to study the marketing mix factors influencing the selection of small retailers and to propose the marketing management pattern for small retailers in Mueang District, Samut Prakan Province. The research sample consisted of 400 persons. The research instrument was a questionnaire. The research found that the most popular products bought by consumers were beverages in refrigerator. Product, price and promotion as marketing factors influenced consumers at a medium level, while place  was at a high level. Gender and education did not affect use of small retail business services whereas age, occupation and income did significantly at 0.05. Promotion, Frequency, and place differed significantly among users of the small retail business at 0.05 level. Marketing management can be used as a marketing management approach for small retailers in retail business competition.

References

Akakul, Theerawut. (2543). Behavioral and Social Research Methodology. Ubon Rachatani: Ubon Ratchatani Rajabhat University.
Department of Interior, Ministry of Interior. (2559). Statistics on population [online] Available from: http://www.dopa.go.th/xstat/p5130_01.html (10/12/2016).
Department of Business Development. (2558). Retail Business Registration [online] Available from: http://www.dba.go.th (12/11/2558).
Jantavon, Prakaydow. (2554). The developing of Marketing Strategies for Small Retailing Stores in Mueang District of Nakhon Ratchasima Province. Independent study in Master of Business Administration Nakhon Ratchasima Rajabhat University.
Kitivejpokawat, Peerapong. (2546). +. Bangkok : se-ed UCATION.
Nakornchaikul, Kamolporn and others. (2552). Studying Marketing Mix (4Ps) affecting the failure of Traditional Trade (Chohuay) in Srisaket, Yasothon, Amnatjaroen and Ubonrajathani. Research report of Faculty of Management Science, Ubonrajathani University.

Downloads

Published

2018-03-31

How to Cite

ทองเย็น ว. (2018). แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก: กรณีศึกษาอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. KASEM BUNDIT JOURNAL, 19(March), 140–149. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/117352

Issue

Section

Research articles