Knowledge Management in Nursing Science with Augmented Reality Technology and Virtual Classrooms
คำสำคัญ:
ห้องเรียนเสมือนจริง, เทคโนโลยีการสร้างความเป็นจริงเสริม, พยาบาลศาสตร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการจัดการความรู้ในรูปแบบการบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาพยาบาล วิธีการ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ประสบการณ์และผลการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาพยาบาล ข้อเสนอ นวัตกรรมทางการศึกษาที่ควรนำมาประยุกต์ในการจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ ได้แก่ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงที่เป็นวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จากศูนย์เรียนรู้ โดยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่มีการประมวลผลเพื่อแสดงภาพกราฟิกให้ปรากฏขึ้นมาแสดงร่วมกับสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งช่วยให้เกิดความน่าสนใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับการเรียนการสอนของพยาบาลในการนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ ที่ต้องการสามารถแสดงให้เห็นในเชิงภาพประกอบเสมือนจริงได้ ห้องเรียนเสมือนจริงเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การออกแบบของรายวิชาสามารถทำได้สำหรับแต่ละรายวิชา ห้องเรียนเสมือนจริงมีความคุ้มค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการความรู้ สรุป การจัดการความรู้นักศึกษาพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและห้องเรียนเสมือนจริงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถเรียนรู้ทั้งจากในห้องเรียนเสมือนจริงและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และสถานการณ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยไม่เสียเวลาการเดินทาง จึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้พยาบาลศาสตร์ ที่เพิ่มทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้มากยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาพยาบาล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย