การรับรู้คุณภาพบริการ : กรณีศึกษาโรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ ในจังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก
Keywords:
การรับรู้, คุณภาพบริการ, ทัศนคติ, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, Perception, Service quality, Attitude, Service marketing mixAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1 ) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมผู้เรียนกับการรับรู้คุณภาพบริการ การสอนในโรงเรียนกวดวิชา ในจังหวัดนครสวรรค์ และพิษณุโลก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการกับการรับรู้คุณภาพบริการ
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 โรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ ในจังหวัดนครสวรรค์และพิษณุโลก รวมทั้งสิ้น 420 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค = 0.978 ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติที ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ที่สาขานครสวรรค์ นักศึกษาซึ่งผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการต่างกัน ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ที่สาขาพิษณุโลกนักศึกษาที่ ระดับชั้น โปรแกรมเรียน เกรดเฉลี่ยภาษาอังกฤษสะสม จำนวนหลักสูตรต่อปี ต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการการสอนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ทัศนคติส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพบริการ ทั้ง 5 ด้าน ในเชิงบวก ทั้งสาขานครสวรรค์และพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The purposes of this article were : 1) To compare general characteristics and learning behavior of the students with perceived teaching service quality in tutorial schools in Nakhonsawan and Phitsanulok provinces, and 2) To study the relationship between service marketing mix and service quality perception of the students.
The research sample consisted of 420 M. 4 – 6 students from two branches of English tutorial schools in Nakhonsawan and Phitsanulok provinces. Main research instrument of this survey was questionnaire, with Cronbach Alpha coefficient of 0.978. Percentage, means, t–test, One Way ANOVA, and Pearson’s correlation were used as analytical techniques.
Hypothesis testing revealed that in Nakhonsawan province, students with different parents’ educational level had different perception of service quality at p = 0.05. In Phitsanulok province, students with different class level, learning program, cumulative grade average and learning course had different perception of service quality at 0.05 level.
It was also revealed that 7 types of attitudes on service marketing mixes were positively correlated with 5 perceived service qualities at 0.01 significant level, both in Nakhonsawan and Phitsanulok provinces.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย