การพาณิชยนาวีไทย

Authors

  • ธนสรรค แขวงโสภา ศาสตราจารย์พิเศษ ที่ปรึกษาและอาจารยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การพาณิชยนาวีไทย, การขนส่งทางทะเล, เรือไทย, เรือบรรทุกน้ำมัน, คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก, Thai mercantile marine, Maritime transport, Thai vessels, Oil tanker, Economic and Social Commission

Abstract

ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายอย่างเหมาะสมของผลผลิตและบริการที่เกิดจากทรัพยากรแต่เนื่องจากการค้าทางทะเลในปัจจุบันมีปริมาณถึงปีละ80%ของการค้าทั้งหมดของโลก ฉะนั้นอุตสาหกรรมการเดินเรือจึงมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่ง การปรับปรุงการเดินเรือและค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางทะเล ย่อมมีผลที่จะช่วยการเพิ่มตลาดการค้าของโลก     

ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นค่าระวางที่ใช้เรือต่างชาติ  ปีหนึ่งมากกว่า หนึ่งแสนล้านบาท ปัญหามีว่าทำไมประเทศไทยไม่ลงทุนสร้างกองเรือพาณิชย์หรือกองเรือบรรทุกน้ำมันขึ้นเพื่อขนสินค้าของเราเสียเองเพื่อลดดุลการค้าจำนวนมากมายเหล่านี้เสีย  แต่การสร้างกองเรือไม่ใช่ของง่าย จะต้องรวบรวมสถิติการค้า จำนวนเรือ การวิจัยตลาด และข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อคาดคะเนปริมาณการค้าหรือสินค้าที่เราสามารถขนส่งได้ ก่อนจัดหากองเรือ        

การคาดคะเนปริมาณการค้าต้องหาการค้าเป็นรายประเทศ  จากนั้นจึงคาดคะเนจำนวนกองเรือให้พอดีกับสินค้าที่เราจะทำการขนส่ง   การวิเคราะห์ปริมาณสินค้าจะเป็นการกำหนดลักษณะเรือ  และเมื่อสามารถคาดคะเนอุปสงค์อุปทานและตลาดในการขนส่งทางทะเลได้ก็จะนำไปสู่การนิยามโครงการและการประเมินโครงการจัดหากองเรือต่อไป

 

International economic progress depends very largely on the efficient use of scare resources and the distribution of the products and services derived from them. Since seaborne trade is currently running about 80 per cent of total world trade, the shipping industry is of paramount importance. Improvements in shipping and economies in the cost of sea transport can expand  the world market.

The problem of trade deficit suffered by Thailand is partly resulted from expenses for freight of foreign vessels which amount to over one hundred thousand million baht a year. The problem is that why Thailand does not invest to establish fleet of commercial vessels or oil tankers of its own in order to ship our goods and reduce the huge amount of such trade deficit. However, to create such fleet of vessels is not an easy task. It requires the availability of comprehensive trade statistics, number of vessels, marketing research and other economic parameters in order to estimate trade volume or goods to be shipped by ourselves before the provision of such a fleet.

Estimation of total trade volume requires stimation of trade with individual countries so that the calculation of the number of fleet to match the volume of goods to be shipped could be done. Product volume analysis is also required to determine characteristic of vessels. When demand and supply can be estimated for sea carriage, it will lead to project definition and project evaluation for provision of fleet of vessels at a later stage.    

Downloads

How to Cite

แขวงโสภา ธ. (2014). การพาณิชยนาวีไทย. KASEM BUNDIT JOURNAL, 13(2), 97–110. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/25229

Issue

Section

Academic articles