มาตรการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
Keywords:
กฎหมาย, มาตรการคุ้มครองเด็ก, เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์, การตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ), Law, Child protection measures, Assisted Reproductive Technology, SurrogacyAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ มาตรการทางกฎหมายมหาชน ควรจัดตั้ง “คณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์” (กคพ.) และ “องค์กรผู้จัดให้มีการตั้งครรภ์แทน” เพื่อกำหนดนโยบายและวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ทางกฎหมาย อีกทั้งควรบัญญัติให้มีผลย้อนหลังแก่เด็กที่เกิดก่อนการบังคับใช้กฎหมายนี้ด้วย มาตรการทางกฎหมายเอกชน ควรกำหนดให้คู่สมรสที่ต้องการมีบุตรเป็นบิดาและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักพันธุกรรมที่แท้จริง โดยบัญญัติให้นำเรื่องครอบครัวและมรดกมาใช้โดยอนุโลมในกฎหมาย มาตรการควบคุมทางกฎหมาย ควรกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการและการควบคุมเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อย่างเข้มงวดให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสถานบริการทางการแพทย์ รวมถึงการห้ามโฆษณา ห้ามกระทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในกรณีอุ้มบุญด้วย และมาตรการบังคับทางกฎหมาย ควรกำหนดมาตรการบังคับทางแพ่ง โดยนำเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะมาใช้กับผู้ปฏิบัติผิดกฎหมายตั้งครรภ์แทน และมาตรการบังคับทางอาญา ควรกำหนดโทษจำคุกแก่ผู้ฝ่าฝืนและนำเรื่องโทษปรับมาใช้สำหรับสถานบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ด้วย
This research aimed to study legal measures to regulate babies born by assisted reproductive technologies. The results of the study were the following. “Committee of Born Regulation by Assisted Reproductive Technologies” and “Organizers for Providing Surrogacy Mothers” should be established as meatuses of public law in order to formulate policies and processes in accordance with the wills of the legislations, the enforcement of which should be made retrospectively. In addition, as meatuses of civil Law, it should be regulated that parenthood should be able to be verified by genetic principles by the implementation of family and heritage laws. Moreover, the legal and regulation measures should be implemented to regulate and control the provision of services and reproductive technologies strictly only by medical professionals and medical clinics and prohibit advertisement, and brokerage of unregulated surrogacy agencies.
Finally, Measures of Civil Legal enforcement should include necessary financial supports to the baby born illegally until he/she is mature by law by those who violate this law. As a measure of criminal law, it should be stipulated that violation of this law can result in imprisonment and fine for delivery of the reproductive technology as a medical service.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย