คุณภาพการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
คุณภาพการบริการ, เทศบาล, Service quality, MunicipalityAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ด้านการให้บริการอย่างทันเวลา ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้าจากการประเมินของผู้ใช้บริการ จำแนกตามลักษณะผู้มาใช้บริการจำนวน 400 คน แบบสอบถามมี 2 ส่วน คือ ลักษณะผู้ใช้บริการและด้านการให้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว F – test เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการประเมินคุณภาพการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับดีโดยไม่แตกต่างกันตามปัจจัยทางลักษณะส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ในภาพรวมและแต่ละด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันประเมินคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ เมื่อพิจารณาผลการประเมินแต่ละด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินคุณภาพในด้านการให้บริการอย่างเพียงพอสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างทันเวลา ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ตามลำดับ
This research aimed to study customer’s evaluation of services delivered by the municipality at Tambol Lamtasao, Amphoe Wang Noi, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya in terms of equal service, in-time service, sufficient service, continuous service, and progressive service. A sample of 400 custonmers answered the questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, average, standard deviation, F-test, and Scheffe’s t - test at the statistically significant level of 0.05.
It was revealed that total service quality of the Office of the Municipality at Tombol Lamtasao, Amphoe Wang Noi, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya was at a good level. Considering demographic characteristic of the sample, it was demonstrated that difference in gender, age, occupation and income did not lead to the difference in evaluation of service quality at 0.05 significance level. However, customers with different level of education evaluated differently in terms of sufficient service at 0.05 level of significance. It was also revealed that service quality in terms of sufficient service was the best aspect of service, followed by in – time service, progressive service, continuous service and equal service respectively.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย