สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนนทบุรี : ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง
Keywords:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, ความสืบเนื่อง, การเปลี่ยนแปลง, Vernacular architecture, Continuity, ChangeAbstract
ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจังหวัดนนทบุรีโดยเลือกศึกษาแหล่งที่ตั้งชุมชนที่มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ ศึกษาลักษณะของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนและ ลักษณะทางกายภาพ ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น ๆ และศึกษาองค์ประกอบของชุมชน ทั้งทางด้านสังคม ศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ผ่านรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนนทบุรีในรูปแบบของเรือนพักอาศัยเดิมเป็นหลัก
ผลการวิจัยพบว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนนทบุรี มีความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป มีวิวัฒนาการอันดีงาม สอดคล้องไปกับสภาพแวดล้อม และธรรมชาติอันเป็นที่ตั้งของเรือน แต่ทั้งนี้จากปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่าง และกระแสความเปลี่ยนแปลงจากสังคมเมืองที่มีกำลังมาก ทำให้เรือนพื้นถิ่น ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ดังกล่าวออกไปหลายรูปแบบโดยที่ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมเป็นเหตุผลสำคัญในลำดับรองลงไป เพราะเหตุว่าในบางท้องถิ่น กิจกรรมและสภาพแวดล้อมเดิมของตนกลับไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรือน และวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตที่เคยเป็นมาอีกต่อไป ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของวิถีชุมชน และความยั่งยืนของเรือนมีน้อย ไม่อาจต้านทานต่อกระแสความเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเรือนจากอดีตจนถึงปัจจุบันจึงแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ ตามรูปแบบทางกายภาพ คือ
- การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆโดยยังคงเค้าของรูปลักษณ์องค์ประกอบเดิม
- การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ โดยมิได้คงเค้าลักษณะของรูปแบบเดิม
The objectives of research were to study physical nature of architecture of Nonthaburi province in a selected community that had a unique social and cultural way of life and living, to study the characteristics of settling and physical nature of regional architecture of its community, and to study the social, religious, traditional and belive aspects of the community through architecture.
The research pointed out that Nonthaburi Vernacular Architecture was on the process of gradual change and had evolved nicely along with environment and nature that the houses were situated. Moreover, many external factors and the changes in urban society had strong influence on the native houses. Environmental factor was the second most important factor that influenced the change of house styles and way of life of the people. Norms and house styles that could not resist have undergone changes. The changes of houses from the past to the present could be seen in 2 physical types, namely:
- The changes of some components, but main styles were still retained, and
- The changes of both components and traditional styles
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย