การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา
Keywords:
เกณฑ์คุณภาพ, สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล, การศึกษา, Quality criteria, Digital television station, EducationAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟาย โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากนักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และนักวิชาชีพ จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 3 รอบ โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในรอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเพื่อพัฒนาเกณฑ์คุณภาพ รอบที่ 2 เป็นการประเมินความเหมาะสมของเกณฑ์คุณภาพโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วน และ 3 เป็นการประเมินเพื่อยืนยันคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิตามผลการประเมินในรอบที่สอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกเกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป (มากกว่า 3.50) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (น้อยกว่า 1.50)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษาที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ประกอบด้วย เกณฑ์คุณภาพ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดผังรายการ/ผลิตรายการ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านผู้เปิดรับ และ ด้านการประเมินผล มีเกณฑ์คุณภาพรายข้อ จำนวน 50 ข้อ เป็นเกณฑ์คุณภาพที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 39 ข้อ และเกณฑ์คุณภาพที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 11 ข้อ ซึ่งมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.92-4.87 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์มีค่าตั้งแต่ 0.62-1.17
The purpose of the research was to develop the quality criteria of education digital television station. The research employed Delphi technique involving three steps involving 25 experts who were professionals in mass communication including both academicians and journalists. The first step was the structured interview to develop a draft of the quality criteria. The second step was suitability evaluation of the quality criteria by means of close-ended questionnaire using rating scale. The third step was concerned with experts’ judgment to confirm the validity of the close-ended questionnaire from step two. Statistical techniques used for analytical purposes were median and interquartile range
It was revealed that quality criteria of education digital television station consisted of five components i.e., administration, TV programmes management and production, human resources, audience, and evaluation. Among the 50 subcomponents, 39 of them were very necessary and 11 were necessary, the medians of which being 3.92-4.87 and interquartile 0.62-1.17
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย