จากสะพานอุตตามนุสรณ์ถึงสะพานไม้ไผ่ลูกบวบ : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนไทย-มอญสองฝั่งแม่น้ำซองกาเลียที่เปลี่ยนแปลง
Keywords:
สะพานอุตตามนุสรณ์, ชุมชนไทย-มอญ, ภาพสะท้อนชีวิต, Utamanusorn wooden bridge, Thai and Mon community, Reflection of lifeAbstract
บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการ การเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมเพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทย-มอญสองฝั่งแม่น้ำซองกาเลีย อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีที่เกิดขึ้นโดยใช้สะพาน อุตตามนุสรณ์ และสะพานไม้ไผ่ลูกบวบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนเป็นตัวแทนในการในการเรียบเรียงบทความนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อมองภาพสะท้อนผ่านสะพานทั้ง 2 แห่งจะพบบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วิถีชีวิตของชุมชนไทย-มอญ ริมฝั่งแม่น้ำซองกาเลีย จากอดีต และปัจจุบันมีการแตกต่างทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยพบว่า ทุนนิยม เข้ามีบทบาทกับสังคมไทย-มอญมากขึ้น ขณะเดียวกันด้วยระยะเวลาที่อยู่ร่วมสังคมกันมาอย่างยาวนานการกลมกลืนทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำให้คนในชุมชนรุ่นใหม่มีลักษณะเป็นไทยร่วมสมัยมากขึ้นโดยลดทอนความเป็นมอญ คงเหลือเพียงผู้สูงอายุจำนวนน้อยในชุมชนเท่านั้นที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมแบบมอญเอาไว้
This article is about cultural transformation. It outlines the changing of the way of life of Thai and Mon communities on the both sides of Songalia River in Sangkhlaburi District, Karnjanaburi province because of the change from Utamanusorn Wooden Bridge to Bamboo Floating Bridge.
The bridges represented the changing of the surrounding contexts from past to present and of their way of life in social, economic and cultural aspects. The author suggested that capitalism affected greatly on their communities. As a result of cultural assimilation, the new generation of Mons has changed their identity to be more Thais. Only few of the old generation could retain their Mon's tradition and culture.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย