การพัฒนาสมรรถนะหลักของวิศวกรไทยในการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
Keywords:
วิศวกรไทย, สมรรถนะหลัก, จรรยาบรรณในวิชาชีพ, กลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ, วิศวกรอาเซียน, Thai engineers, Core competency development, Professional ethics, Human resource development, Foreign experienceAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ (1) เพื่อระบุ (specify) สมรรถนะหลักของวิศวกรไทย (required core competency) ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.สภาวิศวกร พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย (2) เพื่อประเมินสมรรถนะหลักวิศวกรไทย ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (actual core competency) (3) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลต่อสมรรถนะหลักวิศวกรไทย (4) เพื่อเสนอแนะนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะหลักวิศวกรไทย ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
วิธีการวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากวิศวกรไทยที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 159 คน โดยข้อคำถามครอบคลุมตัวแปรต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นส่วนเสริมข้อมูลให้สมบูรณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด คือมีประสบการณ์อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป ในงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรไทย ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะหลักของวิศวกรไทย ด้านความรู้การประกอบวิชาชีพวิศวกรของวิศวกรไทย ด้านภาษาต่างประเทศ กฎหมายและวัฒนธรรมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ-ต่ำมาก (4.20-49.66 %) ด้านทักษะในใช้เครื่องมือในการประกอบวิชาชีพวิศวกรของวิศวกรไทย ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์สูง (ค่าเฉลี่ย = 22.23 หรือร้อยละ 61.75) ด้านประสบการณ์ในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละสาขาวิชา ในภาพรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 64.69 หรือร้อยละ 53.90 ) ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกรไทย อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 50.40 หรือร้อยละ 84.0) ด้านกลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิศวกรรม มีการพัฒนาในวิชาชีพที่น้อยมากหรือแทบไม่ได้มีการพัฒนาวิชาชีพ (CPD) ไม่ได้มีการอบรมการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง หลังจากขึ้นทะเบียนรับอนุญาตใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จากการวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล (causal model) ปรากฏว่าตัวแปรประสบการณ์ในงานด้านวิศวกรรมในต่างประเทศ และตัวแปรกลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิศวกรรม เป็นตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variables) ที่มีบทบาทน้อยต่อสมรรถนะหลักของวิศวกรไทย แต่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกรไทย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรไทย ควรมีการดำเนินการเพื่อเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 ดังนี้ ด้านความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ภาษาต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน และควรเรียนรู้วัฒนธรรมในแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ด้านทักษะการใช้เครื่องมือในการประกอบวิชาชีพวิศวกรไทย ควรพัฒนาการใช้คอมพิวเตอร์ให้คล่อง เช่น การติดตั้งและถอดถอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านประสบการณ์ในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละสาขา ควรพัฒนาในหมวดงานควบคุมการสร้างหรือการผลิต เช่น การควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้าง การควบคุมเกี่ยวกับการสร้าง การควบคุมเกี่ยวกับการติดตั้งการควบคุมเกี่ยวกับการซ่อม และการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายงานให้เป็นไปโดยถูกต้องตามรูปแบบ ที่มีทักษะในระดับปานกลาง ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกรไทย ควรจัดทำรายงานพร้อมบันทึกผลงานการปฏิบัติงานประจำปีเสนอแต่ละสภาวิศวกร ตามรูปแบบที่กำหนดในจรรยาบรรณวิชาชีพให้สอดคล้องกัน เพื่อประกอบการเลื่อนอันดับประเภทการขึ้นทะเบียนรับอนุญาตใบประกอบวิชาชีพ ประเภทสามัญและวุฒิ ตรวจสอบจรรยาบรรณ และกำหนดโทษวิศวกรไทย ด้านกลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิศวกรรม ควรจัดสัมมนาให้การสนับสนุนการพัฒนาในวิชาชีพวิศวกรไทย โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีการออกใบประกาศนียบัตรเพื่อประกอบการต่ออนุญาตใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และจัดเป็นกิจกรรมดำเนินการโดยเฉพาะ เพื่อพัฒนาในวิชาชีพวิศวกรไทย
Main objectives of this research were : ( 1 ) To specify the required core competencies of Thai engineers, as defined on the Act Council of Engineers in Thailand, BE 2542; ( 2 ) To assess actual core competency of Thai engineers at present; (3) To analyze causal relationships of variables affecting core competencies of Thai engineers; and ( 4 ) To suggest policy to enhance core competencies of Thai engineers to accommodate the ASEAN Economic Community in 2015.
Questionnaires were used to collect data from 159 sample Thai engineers who resided in Bangkok. In-depth interviews with Professionals who had at least 10 years experience in engineering profession were used to compliment the sample survey approach.
It was revealed that the core competencies of Thai engineers, i.e. English proficiency, proficiency in ASEAN languages and knowledge of laws in ASEAN countries as well as of ASEAN cultures were at a very low or low levels (4.20%-49.66%). Nevertheless, professional experience and skills were moderate (53.90%) and high (61.75%) respectively. As far as professional ethics of Thai engineers were concerned, licensed professional engineers exhibited a high level of professional ethics (80.4%). It was also observed that continuing professional development (CPD) programs for Thai engineers so far were not satisfactorily effective. Engineering experience in foreign countries and professional development mechanisms, as interviewing variables in the causal model analysis, demonstrated insignificant effect on Thai engineers’ core competencies although they positively affected professional ethics.
For the enhancement of Thai engineers’ core competencies, the following is recommended : Enhancing English and ASEAN language proficiency; Improving knowledge of engineering laws and regulations in ASEAN, as well as ASEAN cultures; Developing skills to use personal computers and software for engineering, e.g., to install and uninstall computer software for engineers. To strengthen professional ethics, it was recommended that Thai engineers would have to prepare an annual performance report for submission to the Council of Engineers for a promotion to higher level of professional license, i.e. professional engineer and senior professional engineer levels. Finally, for the development in engineering career, seminars among professional engineers should be organized regularly with certificate of achievement for the extension of license.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย