รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในโรงเรียนอนุบาลเอกชน

Authors

  • นิสสากร พิมพ์ทอง นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยา, การบริหารแบบมีส่วนร่วม, psychological strategy management, participative management

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของ ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน และ3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น กลุ่มที่1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสูงสุดของโรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน 309คน 2) ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน113คนและ 3) ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน103 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนเป็นผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน 30คนที่ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้บริหารในกลุ่มที่  1 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองแล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ15คนโดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน  ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการกระทำ (Treatment) รูปแบบใด ๆ 

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  สภาพปัจจุบันในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารครูและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากปานกลาง และน้อยตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารครูและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากมากที่สุด และมากที่สุดตามลำดับ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน เป็นรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากหลักการการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ การกำหนดกลยุทธ์การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติและการประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ โดยมีกลยุทธ์ทางจิตวิทยาที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังนี้ กลยุทธ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลยุทธ์การจัดการความรู้และ กลยุทธ์การบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์

การประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน พบว่า ผู้บริหารกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหลังการทดลอง และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และผู้บริหารกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยวิธีการสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่า ผู้บริหารกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจมากและเห็นคุณค่าของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยา และจะนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในการเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมต่อไป

 

The purposes of this research were: 1) To study the current and expected situations of participative management of administrators, teachers, and parents of private kindergarten schools; 2) To develop a psychological strategy management model for enhancing the participative management of the administrators of private kindergarten schools; and 3) To evaluate the effectiveness of the psychological strategy management model for enhancing the participative management of the administrators of private kindergarten schools.

The sample was divided into two groups. The first group of the study of the current and expected situations of participative management at private kindergarten schools was randomly selected from the population comprised of: 1) 309 administrators of private kindergarten schools; 2) 113 teachers; and 3) 103 private kindergarten students’ parents. The second group of the study of the enhancement of the participative management through psychological strategy management consisted of 30 administrators divided into 2 groups—an experimental group and a control group.

The research findings were as follows: The total mean scores of the current situations of participative management of the administrators, teachers, and parents of the private kindergarten school were high, average, and low, respectively.  The total mean scores of the expected situations of participative management of the administrators, teachers, and parents of the private kindergarten school were high, very high, and very high, respectively; The psychological strategy management model for enhancing participative management of the administrators in private kindergarten schools was developed by the researcher, based on the three principles of strategic management—strategic formulation (problem based learning), strategic implementation (knowledge management), and strategic evaluation (management by objective). Administrators’ participative management of the experimental group revealed significantly higher after the experiment and the follow-up and also higher than that of the control group at a .05 level. Besides, the evaluation of the focus group revealed that the kindergarten’s administrators, in the experimental group were very satisfied with the psychological strategy management model and would apply it for enhancing participative management .

Downloads

How to Cite

พิมพ์ทอง น. (2014). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารในโรงเรียนอนุบาลเอกชน. KASEM BUNDIT JOURNAL, 15(1), 75–92. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/25263

Issue

Section

Research articles