Integrative Group Counseling Model for Enhancing Life Hope

ผู้แต่ง

  • Phattarakorn Muksrinak Ph.D. Program in Psychology Kasem Bundit University
  • Pongpan Kirdpitak

คำสำคัญ:

ความหวังในชีวิต, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแบบบูรณาการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความหวังในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิธีวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 248 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1  ใช้ในการศึกษาความหวังในชีวิต  จำนวน 248 คน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 16 คน ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนความหวังในชีวิตตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน ผลการวิจัย คะแนนเฉลี่ยรวม และคะแนนความหวังในชีวิตของนักศึกษาแต่ละด้าน มีค่าเฉลี่ยความหวังในชีวิตในระดับปานกลาง นักศึกษากลุ่มทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล มีค่าความคาดหวังของชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนความหวังในชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแบบบูรณาการ สรุป การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความหวังในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบความสำเร็จและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามความหวังในชีวิตของนักศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

Muksrinak, P., & Kirdpitak, P. (2021). Integrative Group Counseling Model for Enhancing Life Hope . วารสารเกษมบัณฑิต, 22(2), 135–151. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/253386