การสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับร้านขนมไทยในยุคปกติวิถีใหม่
Keywords:
การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, ขนมไทย, ยุคปกติวิถีใหม่Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านขนมไทยในยุคปกติวิถีใหม่ เครื่องมือการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเมื่อต้องการซื้อขนมไทย และเครื่องมือการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยของผู้บริโภค วิธีการวิจัย ดำเนินการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านขนมไทยที่ดำเนินกิจการในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล รวมพื้นที่ 6 จังหวัด จังหวัดละ 3 ราย รวมจำนวน 18 ราย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุระหว่าง 21-60 ปี จำนวน 400 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละจังหวัด ผลการวิจัย ผู้ประกอบการร้านขนมไทยให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดดิจิทัล 5 ประเภท ได้แก่ การตลาดเชิงเนื้อหา การตลาดผ่านเว็บไซต์ การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิด ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเครื่องมือการสื่อสารการตลาดดิจิทัลทั้ง 5 ประเภทอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และ เครื่องมือการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยของผู้บริโภคในยุคปกติวิถีใหม่ มี 3 ประเภท ได้แก่ การตลาดเชิงเนื้อหา การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา และการตลาดผ่านเว็บไซต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นัยทางทฤษฎี/นโยบาย ผู้ประกอบการสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของตน ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปกติวิถีใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
References
Angsusingh, S. (2016). Social network marketing communication tools affecting bakery buying through online channels of Pimpong Bakery Homemade [Unpublished master’s thesis]. Bangkok University.
Bancherdtham, C., & Thanittanakorn, N. (2016). Social media marketing, corporate social responsibility, and self congruity affecting the intention to purchase leather products of consumers in Bangkok. [Paper presentation]. The 12th Academic Conference for the Presentation of Graduate Studies Research. Bangkok, Thailand.
Chaffey, D. & Ellis-Chadwich, F. (2019). Digital marketing: Strategy, implementation and practice. 7th ed. Pearson.
Chaisuwan, B. (2015). Social media marketing: Overview and concepts. Journal of Communication and Innovation. Nida. 2(1), 173-198.
Department of Business Development. (2021). List of newly established and dissolved juristic persons in 2021. Ministry of Commerce.
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization). (2021). ETDA reveals that COVID-19 was the most noticeable cause of Gen Z using the internet in the first year, beating Gen Y as the champion for 6 times. https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx .
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization). (2020). Report of the survey results of internet users in Thailand in 2021 (Thailand Internet User Behavior 2021). Electronic Transactions Development Agency.
Fang, Y. H. (2014). Beyond the credibility of electronic word of mouth: Exploring eWOM adoption on social networking site from affective and curiosity perspectives. International Journal of Electronic Commerce. 18(3). 67-101.
He, H., & Harris, L. (2020). The Impact of COVID-19 pandemic on corporate social responsibility and marketing philosophy. Journal of Business Research, 116. 176-182.
Holliman, G. & Rowley, J. (2014), Business to business digital content marketing: Marketers’ perceptions of best practice, Journal of Research in Interactive Marketing. 8(4), 269-293.
Intaratayvee, T. (2013). Thai people’s attitudes towards infographic and texts as means of communication for social campaigns. [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University.
Jagdish, N. (2020). Borderless media: Rethinking international marketing. Journal of International Marketing, 28(1), 3-12.
Jintana, S. (2020). Thai desserts for trade: General knowledge about making Thai desserts for trade. Phetchaburi Vocational College, Office of the Vocational Education Commission, Ministry of Education.
Kanchananon, N. (2019). Digital media integrated marketing communication and influence on students decision making in a private university in Bangkok and vicinity. Journal of Communication Arts Review, 23(2), 211-222.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 KASEM BUNDIT JOURNAL
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย