ศักยภาพการผลิตและการตลาดของธุรกิจอาหารฮาลาล ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Authors

  • กาญจนา ธรรมาวาท Ramkamheng University
  • ณัฐพล ขันธไชย

Keywords:

การผลิตอาหารฮาลาล, การตลาดอาหารฮาลาล, การรับรองมาตรฐานฮาลาน

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาด ผลิตภาพปัจจัยการผลิต และปัญหาของการขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของธุรกิจอาหารฮาลาล วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ โดยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 47 แห่ง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลแล้วจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผลการวิจัย: สถานประกอบการส่วนใหญ่ผลิตสินค้าฮาลาลในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อการขายส่งและขายปลีกในประเทศ และได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี มูลเหตุจูงใจสำคัญในการขอรับรองมาตรฐานคือ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคกลุ่มมุสลิม สินค้าฮาลาลที่จำหน่ายมีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกันเฉลี่ย ร้อยละ 36.93 การผลิตสินค้าฮาลาลในกรุงเทพมหานครใช้ทุนต่อแรงงานสูงกว่าในเขตปริมณฑล แต่ผลิตภาพการผลิตต่ำกว่าสถานประกอบการในเขตปริมณฑล ผลการประกอบการส่วนใหญ่มีกำไร ปัญหาที่พบจากการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สูง ใช้เวลาในการพิจารณานาน และการรับรองมาตรฐานวัตถุดิบที่ใช้ที่ซื้อจากผู้ขายวัตถุดิบ นัยทางด้านทฤษฎี/นโยบาย ควรส่งเสริมศักยภาพการผลิตและการตลาดของธุรกิจอาหารฮาลาลของไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐานและการแข่งขันในตลาดโลก

References

Database for Development Promotion of Thai Halal, Ministry of Industry. (2559). Conditions of Thai Halal Industry.

http://www.thailandhalalfoods.com

Department of Industrial Promotion, Ministry of Industry. (2556). Strategies for promotion and capability enhancement of Halal foods and business (2559-2563). http://www.dip.go.th/Portals/0/2558/Busarin

Jameulitratr, W. (2555). Thai Halal opportunities on the world market.

http://www.dft.go.th/Portals/0/Content Management/Document Mod684

Raa, T. T. (2013). Microeconomics: Equilibrium and efficiency. Palgrave Macmillan.

Sriboonreung, A. (2558). Public-private joint strategies for Thai Halal exports for 1 in 5 of world market share by 2563.

http://www.thaigov.go.th/index.php/th/news-ministry/2012-08-15-09-45 02/item/94765

Srimuang, S. (2547). Thai Halal food exports on the world market [Unpublished master’s thesis]. Thammasart University.

Tiankaroch, T. (2557). An analysis of Halal business in 3 southern provinces of Thailand [Unpublished master’s thesis]. Chiangmai University.

Wachrapan, P., Dulyaporn, W. & Jerdrangsri, K. (2551). A research report on guidelines for marketing development of Halal food of Thailand for export [Unpublished research report]. Prince of Songkla University.

Waldman, D. E. & Elizabeth, J. J. (1998). Industrial organization: Theory and practice. Addison-Wesley.

Downloads

Published

2022-12-26

How to Cite

ธรรมาวาท ก. ., & ขันธไชย ณ. . (2022). ศักยภาพการผลิตและการตลาดของธุรกิจอาหารฮาลาล ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. KASEM BUNDIT JOURNAL, 23(2), 81–98. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/262545

Issue

Section

Research articles