แผนกลยุทธ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดนครนายก
Keywords:
แผนกลยุทธ์ , การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , จังหวัดนครนายกAbstract
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเสนอแนะแผนกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดนครนายก วิธีการวิจัย ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน และแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ผลการวิจัย จุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดนครนายก คือ มีภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จุดอ่อน คือ แหล่งท่องเที่ยวไม่ได้รับการปรับปรุงอย่างเพียงพอ โอกาส คือ มีนักท่องเที่ยวกลุ่มรักสุขภาพเพิ่มมากขึ้น แต่อุปสรรค คือขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ในด้านพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว พบว่าส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน และความต้องการของนักท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสิ่งดึงดูดใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือที่พัก กิจกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก และการเข้าถึงตามลำดับ นัยทางทฤษฎี/นโยบาย แผนกลยุทธ์ประกอบด้วยกลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงรุก การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงรุก การพัฒนาศักยภาพชุมชนแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดนครนายก ได้แก่ “แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างคุ้มค่าที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรพืชท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่เป็นเลิศ และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้มาตรฐาน”
References
AbdelAziz, G., & Kewina, I. (2022). Medical tourism and Egypt's strategic vision 2030: Pull motivations that trigger the international patients' intention to visit Egypt as a medical tourism hub. The Academic Journal of Contemporary Commercial Research, 2(2), 53-77.
Bangmo, S. (2552). Organization and management. Wittayapat Co., Ltd.
Eastern Provinces Group 2. (2564). Eastern Region Provincial Development Plan 2 (Chanthaburi, Trat, Nakhon Nayok, Prachinburi and Sa Kaeo) 2023 - 2027. http://www.prachinburi.go.th/EP2/planEP2-66-70.pdf
Kongsasana. S. (2552) Study of health tourism routes in Khon Kaen Province. Journal of Management Science Chiang Rai Rajabhat University, 4(2), 35-58.
Mahatthanawarakanok, C. (2557). Health tourism promotion strategy in Phra Ruang Hot Spring of Tambon Landokmai Muang District Kamphaengphet Province [Unpublished report]. Khon Kaen University.
Manirochana, N., & Vivanichakul, N. (2559). Competitive abilities of Thailand Medical Tourism. Parichart Journal, 29(1), 196–215.
Nakhon Nayok Provincial Office (2565). Nakhon Nayok Province Development Plan 2018-2022 (Revised Edition).
Phasook, A. (2561). Strategies to increase the competitiveness of herbal cities in Prachinburi Province to support the health tourism market. [Unpublished report]. University of Phayao.
Phosri, S. (2559). Development of strategies to promote health tourism in Trat province Thai. [Unpublished report]. Sukhothai Thammathirat Open University.
Skulpunyawat, S. (2561). Factors influencing health quality of older persons in Nakornnayok province. Journal of Nursing and Education, 11(3), 51-63.
Taejarenwiriyakul, O., Juisub, C., Harihararat, S., Bodkeaw, A., & Thummajitsakul, S. (2563). Factors affecting health promoting behaviors among the elderly residing in Phothaen, Ongkharak district, NakhonNayok province. Nursing Public Health and Education Journal, 21(1), 80-90.
Tourism Authority of Thailand, Nakhon Nayok Office. (2558). Love Thailand: Nakhon Nayok. Tourism Authority of Thailand. [Unpublished report].
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 KASEM BUNDIT JOURNAL
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย