ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สถานการณ์จำลองกับบทบาทสมมติและการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทย ของนักศึกษาชาวต่างประเทศชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
Keywords:
Learning management, Stimulation, Role play, Computer assisted instruction program, Foreign students, สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมติ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักศึกษาชาวต่างประเทศAbstract
Abstract
This research aimed to compare the abilities of first year foreign students before and after learning management using stimulation and role play, and to compare Thai language listening and speaking abilities of first year foreign students before and after learning management using a computer assisted instruction program.
The sample consisted of 50 first year foreign students at Kasem Bundit University, in the second semester, 2012 academic year, obtained by cluster random sampling. The employed research instruments were learning management plans using stimulation and role play, learning management plans using a computer assisted instruction program, and Thai language listening and speaking abilities tests.
The research revealed that the post-learning Thai language listening and speaking abilities of first year foreign students who learned by using stimulation and role play were significantly higher than their pre-learning abilities at .05 level; and the post-learning Thai Language listening and speaking abilities of first year foreign students who learned by using a computer- assisted instruction program were significantly higher than their pre-learning abilities at .05 level.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทยของนักศึกษาชาวต่างประเทศ ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับบทบาทสมมติ ก่อนและหลังการเรียน และ เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทยของนักศึกษาชาวต่างประเทศ ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก่อนและหลังการเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักศึกษาชาวต่างประเทศ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้สถานการณ์จำลองกับบทบาทสมมติ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทย
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทยของนักศึกษาชาวต่างประเทศชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับบทบาทสมมติหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความสามารถในการฟังและการพูดภาษาไทยของนักศึกษาชาวต่างประเทศชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย