การวิเคราะห์สวัสดิการแรงงานของไทย :ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน

Authors

  • วิชัย โถสุวรรณจินดา

Keywords:

สวัสดิการแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาเซียน, Labour security, Labour protection law, Providence fund, ASEAN

Abstract

บทคัดย่อ

จากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนด้านสวัสดิการแรงงานโดยเฉพาะในการดูแลให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในอาเซียนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงาน

การศึกษานี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบสวัสดิการแรงงานไทยกับประเทศอื่นในประเทศในอาเซียน  ผลการศึกษาพบว่า สวัสดิการแรงงานที่กฎหมายไทยกำหนดส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน อย่างไรก็ตาม บางประเทศได้กำหนดสวัสดิการที่แตกต่างจากประเทศไทย เช่น การกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์สำหรับลูกจ้างที่ทำงานเป็นกะ การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี และวันลาป่วย  การให้สิทธิลูกจ้างหญิงหยุดกรณีแท้งบุตรและหยุดเพื่อดูแลบุตรที่เป็นทารก การให้สิทธิบิดาลาเพื่อการดูแลบุตร การจัดให้มีห้องอภิบาลทารกและศูนย์ดูแลเด็ก การกำหนดอายุเกษียณเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบบังคับ ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในอาเซียนและให้มีมาตรการจูงใจด้านภาษีเพื่อให้นายจ้างจัดสวัสดิการให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้อีกด้วย 

 

Abstract

           ASEAN Economic Community (AEC) has commenced since the end of 2015. Therefore, Thailand should review its welfare for workers as stated in Labour Protection Act so that is it similar to those in other ASEAN countries in order to accommodate labour movement in the region. This study compared the welfare for Labour in Thailand with those in other ASEAN courtiers. It was revealed that the labour welfare in ASEAN was similar in most aspects. However, there were some significant differences such as weekly holiday for shift workers who worked in fixed hours system, annual holiday, and sick leave. In addition, women could have longer holiday on abortive sickness than men, and male workers could take leave to take care of their infant. Moreover, employers arranged nursery room and day care center for babies and children. Furthermore, retired age extended for the aging society, and providence fund was compulsory.  The researcher suggested the government to amend Labour Protection Act according to the standard of ASEAN and provide more tax incentive to employers who offer more voluntary welfare for their workers.

Downloads

How to Cite

โถสุวรรณจินดา ว. (2016). การวิเคราะห์สวัสดิการแรงงานของไทย :ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน. KASEM BUNDIT JOURNAL, 17(1), 178–194. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/58845

Issue

Section

Research articles