ความรู้และความเข้าใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบูรณาการการสอน สะเต็มศึกษา ด้วยศิลปะ และจริยธรรม (ESTEAM): กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

Authors

  • Vasinee Isarasena

Keywords:

สะเต็มศึกษา ESTEAM บูรณาการ ผู้ปกครอง STEM Education, ESTEAM, Integration, Parents

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาความรู้ความเข้าใจของ ผู้ปกครองโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ต่อความเข้าใจความหมายและความสำคัญ ของการบูรณาการการสอนสะเต็มศึกษา (STEM Education) ด้วยศิลปะ และจริยธรรม เพื่อศึกษา การสอนแบบ ESTEAM วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง สถานภาพส่วนบุคคลกับความรู้ความเข้าใจ ในการ บูรณาการการสอนแบบ ESTEAM ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)  ปีการศึกษา 2557 ตั้งแต่ระดับ ชั้นเด็กเล็ก (อนุบาล 3) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 758  คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ค่าทดสอบไคสแควร์  

          ผลจากการวิจัย พบว่า  ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจ ความหมายและเห็นความ สำคัญของการบูรณาการการสอนสะเต็มศึกษา ด้วยศิลปะและจริยธรรม หรือ ESTEAM มีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 74.38  ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพ ส่วน บุคคล ด้านอายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และ ระดับชั้นเรียนกับความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการ การสอนแบบ ESTEAM มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น ด้านเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการ จัดการสอน ESTEAM ต่อไป

Abstract

            .

The purposes of this study were to investigate the parents’ understanding of STEM Education with Arts and Ethics (ESTEAM) at Srinakharinwirot University, Prasarnmit Demonstration School (Elementary) on the meaning and the significance of ESTEAM Education (STEM Education including arts and ethics), and to analyze demographic characteristics of the participants. The population of this study was of parents of students from kindergarten school in the sixth grade at Srinakharinwirot University: Prasarnmit Demonstration Elementary School in 2014. The sample of this study was consisted of a quote sample of 758 parents. The results showed that: 74.38 % of parents understood the meaning and the significance of ESTEAM, and the relationships among ages, educational levels, careers, and students’ grades showed a significance of 0.05. This study would lead to the implementation of ESTEAM in the future.

increasingly focused on the drafting of regulations and conventions covering human rights. These were be used as agreements by all member countries and to serve as a model for the makings of human rights laws in member nations, instead of the UN directly tackling the problems.

 

 

Downloads

Published

2016-12-29

How to Cite

Isarasena, V. (2016). ความรู้และความเข้าใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบูรณาการการสอน สะเต็มศึกษา ด้วยศิลปะ และจริยธรรม (ESTEAM): กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม). KASEM BUNDIT JOURNAL, 17(2), 96–113. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/69408

Issue

Section

Research articles