ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของภาพยนตร์กับบริบททางสังคม
Keywords:
ภาพยนตร์ บริบททางสังคม Cinema, Social contextAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ของบริบททางสังคม (Social Context) ที่ส่งผล ต่อพัฒนาการของภาพยนตร์ โดยใช้กรอบแนวคิดของ Andrew Higson และ Tom O’ Regan การวิจัยนี้ เลือกใช้การวิเคราะห์ด้านเอกสาร (Documentary research) โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของ ภาพยนตร์ในแต่ละประเทศ กับบริบททางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ ในงานวิจัยนี้ เลือกภาพยนตร์จากหลายประเทศและหลายช่วงเวลามาวิเคราะห์ เช่น ภาพยนตร์อเมริกัน (ฮอลลีวู้ด) ภาพยนตร์เยอรมัน ภาพยนตร์อิตาลี และภาพยนตร์รัสเซีย เป็นต้น ผลการศึกษาสรุปได้ว่า บริบททางสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของภาพยนตร์มีดังนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลต่อการก่อกำเนิด รูปแบบของภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ การเมืองใช้ภาพยนตร์เพื่อ โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายต่อต้านรัฐ รวมทั้งทำให้เกิดภาพยนตร์กลุ่มต่าง ๆ ดังนั้น ภาพยนตร์จัดเป็นเครื่องมือทางการเมือง นอกจากนั้นงานศิลปะ เช่น วรรณกรรมและจิตรกรรม มีอิทธิพล ต่อรูปแบบและเนื้อหาของภาพยนตร์
ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อพัฒนาการของภาพยนตร์ในแต่ละทศวรรษ โดยมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม
With an aim to find out the relationship between the development of cinema and social context, the research used the documentary research approach and adopted the idea of Higson and O’Regan. It analyzed the cinemas that were played at various periods of time in various countries, such as America (Hollywood), Germany, Italy, and Russia. The result showed that social context influenced to the development of the cinema as follows: science and technology had an impact on the development of the cinema and the film industry. Therefore, the cinema is a product of science and technology. Politics and war used the cinema not only to propagandize the state but also to protest the state. In addition, the politics and war were the important factors that constructed the film genre. As a result, the cinema was used as a political instrument. Literature and painting influenced the style and content of the film. So, the cinema was a part of arts.
The said factors-science and technology, politics and war, and arts-were involved and played the dynamics roles in the development of the cinema.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย