ปัญหาเกี่ยวกับการรับมรดกแทนที่

Authors

  • Pornchai Soonthornpan

Keywords:

การรับมรดกแทนที่, ทายาทโดยธรรม, ผู้สืบสันดานโดยตรง

Abstract


            บทบัญญัติมาตรา 1639 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นแม่บทหลักของกฎหมายว่าด้วยการรับมรดกแทนที่นั้น มีข้อจำกัดอันก่อให้เกิดปัญหาตามมา 2 ประการ ได้แก่     การวางเงื่อนไขให้รับมรดกแทนที่ได้เฉพาะกรณีทายาทถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก และการวางเงื่อนไขให้รับมรดกแทนที่ได้เฉพาะกรณีทายาทถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ซึ่งข้อจำกัดของถ้อยคำที่ใช้ดังกล่าวนำไปสู่การตีความกฎหมายโดยศาลฎีกา ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่เป็นเอกภาพ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการรับมรดกแทนที่ของประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (The Civil Law System) เหมือนอย่างประเทศไทย ซึ่งพบว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศต่างๆ ดังกล่าวครอบคลุมถึงกรณีปัญหาดังกล่าวมาด้วย  ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าสมควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการรับมรดกแทนที่ของประเทศไทยสืบไป

 

The principle of the representation of the heir for the purpose of receiving inheritance stipulated under The Thai Civil and Commercial Code Section 1639 has two limitations which appear as a drawback to the application of the law. For instance, the condition in which the descendants could represent the dead-heir for the purpose of receiving inheritance is limited to only if the heir is dead before the death of the de cujus. Same principle applies to the case where the heir has been excluded from inheritance, that is to say the descendants representing the excluded heir for the purpose of receiving inheritance should happen only if the heir is excluded from inheritance before the death of the de cujus. The language used in Section 1639 has brought about the decisions of the Thai Supreme Court and the interpretation of the principle of Section 1639 to the limited end turning Section 1639 to an unnecessarily small parameter. A comparison of the principle of the representation of the heir for the purpose of receiving inheritance with other civil law countries, namely Japanese law, French law, and German law, is used to analyze the limitations and is an essential tool to facilitate the recommendation to modify Section 1639.   

Downloads

Published

2016-12-29

How to Cite

Soonthornpan, P. (2016). ปัญหาเกี่ยวกับการรับมรดกแทนที่. KASEM BUNDIT JOURNAL, 17(2), 1–15. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/72242

Issue

Section

Research articles