รูปแบบการค้าและวิเคราะห์พฤติกรรมการส่งออกของประเทศไทยในตลาดเอเชียตะวันออก
Keywords:
รูปแบบการค้า, พฤติกรรมการส่งออก, ประเทศไทย, ตลาดเอเชียตะวันออกAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพิจารณาถึงรูปแบบทางการค้าของไทยกับประเทศในเอเชียตะวันออก และพิจารณาถึงที่มาต่างๆของการเติบโตของสินค้าส่งออกของไทยที่ส่งไปขายยังประเทศในเอเซียตะวันออก ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแต่ละประเทศเหล่านี้ได้มีการเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศไทยแล้ว โดยได้จัดทำข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (Agreement on Trade in Goods) ลดภาษีเหลือร้อยละศูนย์ในปี พ.ศ. 2553 ฉะนั้นการศึกษานี้จึงได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงปีเฉลี่ย พ.ศ. 2548-2552 และช่วงปีเฉลี่ย พ.ศ. 2553-2557 โดยใช้ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศแบบอนุกรมเวลารายปีของ World Trade Atlas
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรายการหมวดสินค้า (HS 2 หลัก) พบว่า รูปแบบการค้าของไทยกับประเทศในเอเชียตะวันออก ส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูง มีสัดส่วนการส่งออกสูงในอาเซียน และมีสัดส่วนการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกในอาเซียน (อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์) ทั้งนี้บางรายการหมวดสินค้าส่งออกของไทยมีประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นคู่แข่งขัน แต่บางรายการประเทศไทยเป็นผู้นำการส่งออกของอาเซียนแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการส่งออกสินค้าไทย (HS 4 หลัก) ที่มีดุลการค้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสินค้าที่ได้ดุลทั้งหมดในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออก ด้วยแบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ (Constant Market Share: CMS) ทำให้ทราบถึงข้อมูลรายการสินค้าของไทยที่มีศักยภาพการส่งออกในตลาดจีน ตลาดญี่ปุ่น และตลาดเกาหลีใต้ โดยเฉพาะรายการสินค้าส่งออกของไทยในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีดุลการค้าเพิ่มขึ้นและมีสัดส่วนการส่งออกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกในอาเซียน ซึ่งผลดังกล่าวสืบเนื่องมาจากผลขององค์ประกอบสินค้า (Commodity Composition) ผลของการกระจายตลาด (Market Distribution) และผลของความสามารถในการแข่งขัน (Increased Competitiveness) โดยองค์ความรู้ที่ได้ในที่นี้ สามารถนำข้อมูลรายการสินค้าไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian community) ซึ่งถือเป็นรายการสินค้าที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเหนือประเทศสมาชิกในอาเซียน และสามารถรักษาส่วนแบ่งในตลาดเอเซียตะวันออกไว้ได้ แม้ว่าจะมีการขยายตัวทางการค้าโดยรวมของโลกที่ลดลงก็ตาม
References
ณาตยา แดงรุ่งโรจน์. (2556). ความสามารถในการแข่งขันส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ. วิทยานิพนธ์, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ติชิลา วิจิตร. (2555). ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยในประเทศจีน. วารสาร RMUTT Global Business and Economics Review.7, 2: 216-224.
ภาวดี ไวยราบุตร. (2543). การวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยในตลาดที่สำคัญ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://www.phtnet.org/research/ view-abstract.asp?research_id=ah181
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์ "โครงการจัดทำรูปแบบของการศึกษาผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากการเปิดเสรีแบบทวิภาคี. กรุงเทพ มหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://tdri.or.th/wp-content/uploads/ 2013/04/fta.pdf (in Thai)
สุภาพร หนูชนะภัย และ บุญจิต ฐิตาภิวัมนกุล. (2554). การวิเคราะห์ศักยภาพตลาดกล้วยไม้ส่งออกที่สำคัญของไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/ KC4807006.pdf
Arshad, F. M. and Radam, A. (2540). “Export performance of selected electrical and electronic products”, in Towards Management Excellence in 21st Century Asia, Proceedings of the Second Asian Academy of Management Conference in Langkawi, Malaysia,12-13 December, 1-22.
Arvinder.,&Paramjit. (2554). Competitiveness of India's Manufactured Exports: A Constant Market Share Analysis [Online]. Available: http://www.freepatentsonline.com/ article/Indian-Journal-Economics-Business/ 267808353.html
Cheptea, A. & Fontagné, L. & Zignago, S. (2555). "European Export Performance," Working papers 393, Banque de France.
Crespo, N. and M. Fontoura (2554). “What Determines the Export Performance? A Comparative Analysis at the World Level”. The Empirical Economics Letters. Volume 10 (2).
Haque, A. K. M. Ahasanul and Sultana, Seyama and Kedah, Zulkarnain and Yasmin, Farzana and Momen, Abdul. (2557). “Gaining of competitive advantage of Malaysian telecommunication products: measure of competitiveness”. International Review of Business Research Papers, Volume 10 (2), 27-45. ISSN 1832-9543 (O), 1837-5685 (P)
Ingco.,& Kandiero. (2545). Export Performance of Bangladesh: A Constant Market Share Analysis [Online]. Available: http://sae.sagepub.com/content/3/2/163.extract
Jiménez and Martín . (2553). A constant market share analysis of the euro area in the period 1994–2007 (Tech. Rep.). Banco de Espana.
Koossalapeerom, S. (2519). Thailand’s International Economic Relations with the Four Developed Countries (Master's thesis, Thammasat University).
Leamer, E.E. and R.M. Stern. (2513). “Quantitative International Economic, Chapter 7.” Boston: Allyn and Bacon.
Nanda, Paramjit and Arvinder Kaur. (2554). "Competitiveness of India’s Manufactured Exports: A Constant Market Share Analysis". Volume 10 (2-3), September, 267-281.
Ooms, J. D. 1976. “Models of Comparative Export Performance.” Yale Economic Essay. Volume 7, 103-141.
Poramacom, N. 2002. “Revealed Comparative Advantage (RCA) and Constant Market Share Model (CMS) on Thai Natural Rubber”. Kasetsart J. (Social Science). Volume 23, 54 – 60.
Richardson, J. D. 1971. “Constant-market-shares analysis of export growth.” Journal of International Economics. Volume 1, 227-239.
Skriner, E. (2552), “Competitiveness and Specialisation of the Austrian Export Sector. A Constant-Market-Shares Analysis”, Economics Series, No. 235, Institute for Advanced Studies.
Tyszynski, H. (2494). World Trade in Manufactured Commodities, 1899-1950. Manchester School.
Wizarat, S., & Ahmed, A. (2558). Decomposition of Pakistan’s Export Growth to APEC Markets. OJBM, 03(03), 287-299. doi:10.4236/ojbm.2015.33029
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย