การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์
Keywords:
คุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา, การให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ, Time management success attributes of students, Integrative group counselingAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 422 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการเสริมสร้างคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลา เป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาชั้นปีที่ 1 จำนวน 24 คน และสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นคุณลักษณะความสำเร็จด้านการวางแผนในการบริหารเวลารายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษา พัฒนาจากการบูรณาการแนวคิด และเทคนิคของทฤษฎีต่าง ๆ ของการให้การปรึกษากลุ่ม 3) คุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ หลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) คุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ หลังการทดลองและหลังการติดตามผลสูงกว่าคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลาของนักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 5) ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการหลังการติดตามผล มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ และทักษะการปฏิบัติตนที่ทำให้บรรลุถึงคุณลักษณะของความสำเร็จในการบริหารเวลา
The purposes of this research were 1) to study time management success attributes of the students, 2) to develop an integrative group counseling model for enhancing time management success attributes of the students, and 3) to evaluate the effectiveness of the integrative group counseling for enhancing time management success attributes of the students. The sample of the time management success attributes study was 422 first to fourth year students of Saint Louis College. Those were selected by stratified random sampling from the population. The sample of the enhancement management success attributes was 24 first year Psychology students of the faculty of Arts. They were randomly assigned into an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 students. The results of this research were as follows: 1) The total mean score and each dimension score of time management success attributes of the students were high except time management planning dimension was average. 2) The integrative group counseling model for enhancing time management success attributes of the students was developed from the concepts and the techniques of group counseling theories. 3) The time management success attributes of the experimental group after participating in the integrative group counseling model and after the follow up were significantly higher than before the experiment at .01 level. 4) The time management success attributes of the experimental group after participating in the integrative group counseling model and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .01 level. 5) Focus group report of the experimental group after the follow up showed that they were satisfied with the integrative group counseling model. The model could promote knowledge, understandings and also self practical techniques to fulfill their time management success attributes.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย