การพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านวิธีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี
อัสมา พิมพ์ประพันธ์
ดรุณี อิ่มด้วง

บทคัดย่อ

            การป้องกันเยาวชนจากการเสพยาเสพติดให้โทษนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพของเยาวชนให้มีความเจริญทั้งจิตใจและปัญญาเพื่อใช้ในการป้องกันยาเสพติด การมีภูมิคุ้มกันทางจิตจะเป็นเครื่องมือที่ดีของเยาวชนในการป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากการเสพยาเสพติดให้โทษได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านวิธีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และ 2) สังเคราะห์ความรู้จากกระบวนการวิจัยให้เป็นแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชน ใช้กระบวนการการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เทคนิคการสะท้อนคิดในตนเองด้วยวิจารณญาณ และ เทคนิคการสนทนากลุ่มเชิงวิพากษ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย
            ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตนของเยาวชนที่สมเหตุสมผลได้ โดยมีกระบวนการสำคัญที่ช่วยสนับสนุน คือ กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การสื่อสารแบบประชาธิปไตย การสร้างอารมณ์ทางบวก การเปิดใจ การปรับพฤติกรรม การเสริมแรงทางบวก รวมถึงการชี้แนะ และ 2) การสังเคราะห์ความรู้จากกระบวนการวิจัยให้เป็นแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชน ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ  (1) ปัจจัยภายใน คือ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อต่อการเสพยาเสพติดให้โทษของเยาวชน การมีขวัญและกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง และ (2) ปัจจัยภายนอก คือ กระบวนการเสวนากลุ่มที่มีความสัมพันธ์แบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่จะช่วยอำนวยให้เกิดการปฏิบัติตนของเยาวชนในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดให้โทษ ผลการศึกษานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อค้นพบนี้ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดให้โทษ ส่งผลให้เกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1986). Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Criffs, NJ: Prentice Hall.

Department of Juvenile Observation and Protection. (2017). Number of Juveniles Being Prosecuted Classified by Offense. Retrieved from http://www.djop.go.th/ home. [in Thai]

Kitnusan, R. (2012). Thinking process, feeling and behavior of student teachers on teaching profession: transformative learning. Journal of Education, 23(1), 96-109. [in Thai]

Mezirow, J. (1978). Perspective transformation. Adult Education, 28(2), 100-110.

Mezirow, J. (1994). Understanding transformation theory. Adult Education Quarterly, 44(4), 222-232.

Mezirow, J. (2003). Transformative learning as discourse. Journal of Transformative Education, 1(1), 58-63.

Poohongthong, C. (2017). Critical Participatory Action Research for Developing Learner centered Instruction Practices in Pre-Service Student Teachers through Transformative Learning. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Tuntakit, N. (2015). Drug prevention for at risk youth group outside the school: a case study of youth volunteers for land forces project in Taphong Sub-district, Mueang District, Rayong Province. Journal of Social Research, 38(2), 113-146. [in Thai]