องค์ประกอบเชิงสำรวจของความตระหนักรู้และการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้ประกอบอาชีพอิสระในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ความตระหนักรู้, การใช้ประโยชน์, การวิเคราะห์องค์ประกอบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความตระหนักรู้และการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบของความตระหนักรู้และการเข้าถึงระบบ โดยเก็บข้อมูลแบบโควตาเขตพื้นที่กับผู้ประกอบอาชีพอิสระในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 เขต เขตละ 67 ราย รวม 402 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ .05 และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบแบบแกนร่วม (PAF) และการหมุนแกนองค์ประกอบแบบไม่ตั้งฉากแบบ Promax
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระให้คะแนนการใช้ประโยชน์จริงของระบบ
ประกันสุขภาพถ้วนหน้าสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 7.71 จาก 10 คะแนน รองลงมา คือ ความตระหนักรู้
ในระบบเท่ากับ 7.66 คะแนน และความสามารถในการเข้าถึงระบบเท่ากับ 7.40 คะแนน ตามลำดับ และจากการทดสอบไคสแควร์ พบว่า มีปัจจัยส่วนบุคคลและองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันจำนวน 7 คู่ โดยปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษามีความสัมพันธ์กับทั้งความตระหนักรู้และการใช้ประโยชน์ในระบบ และผลจากการวิเคราะห์ EFA พบว่า สามารถสร้างองค์ประกอบได้ 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบทั้งหมดมีความสอดคล้องกับการสร้างองค์ประกอบทางทฤษฎี ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าไอเกน 3 ลำดับแรก ได้แก่ การใช้ประโยชน์ เวลาและนัดหมาย และจริยธรรมทางการแพทย์
ทั้งนี้ จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า สํานักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการเข้ารับการบริการตามสิทธิ และการเตรียมความพร้อมของบุคลากร เครื่องมือ และยารักษาโรค ในขณะเดียวกัน การสร้างความตระหนักรู้ควรมุ่งไปที่กลุ่มประกอบอาชีพอิสระที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นและการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรมุ่งไปที่กลุ่มที่จบต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น นอกจากนี้ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) พบว่า ควรประชาสัมพันธ์ในเรื่อง 1) การใช้ประโยชน์จากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่วิกฤติหรือเร่งด่วน (โทร 1669) และ 2) การใช้ประโยชน์จากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่วิกฤติหรือเร่งด่วนที่ไปรับบริการที่ใดก็ได้ตามความจำเป็นโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น