รูปแบบความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียน ตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง CLMVT ด้วยมูลค่าเพิ่มทุนอัจฉริยะ กรณีศึกษา : มุมมองของบุคลากรด้านการบินของประเทศไทยท่าอากาศยาน 7 แห่ง ตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง ติดตะเข็บชายแดนประเทศ CLMVT

ผู้แต่ง

  • ศิรินดาพัช อัศวบดินทร์ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  ความเป็นไปได้  สายการบินร่วมอาเซียน CLMVT

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียนตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง CLMVT ในมุมมองของบุคลกรด้านการบินของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านทุนทางปัญญา ทุนขององค์กร และการบรรลุผลสำเร็จของธุรกิจสายการบินในกลุ่ม CLMVT  2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นเลิศด้วยวิธีมูลค่าเพิ่มทุนอัจฉริยะ และ 3) ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียนตามแนวเขตลุ่ม น้ำโขง CLMVT เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรด้านการบิน ณ  ท่าอากาศยานกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง  จำนวนทั้งสิ้น 415 คน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นเลิศด้วยวิธีมูลค่าเพิ่มทุนอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ตลอดจนมีความสามารถในการพยากรณ์ได้ระดับดี และเป็นที่ยอมรับ คิดเป็นร้อยละ 49.0 ซึ่งผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 40 ขึ้นไป ลักษณะความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ทุนทางปัญญา และทุนขององค์กร ต่างมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นเลิศด้วยวิธีมูลค่าเพิ่มทุนอัจฉริยะของธุรกิจสายการบินร่วมอาเซียนตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง CLMVT อีกทั้งทุนทางปัญญายังมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อทุนขององค์กรของธุรกิจสายการบินร่วมอาเซียนตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง CLMVT ด้วย แนวทางความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียนตามแนวเขตลุ่มน้ำโขง CLMVT ผู้วิจัย พบว่า ส่วนประกอบทุกด้านในกรอบแนวคิดมีค่าความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ที่เป็นบวก และยังมีความประสมประสานกลมกลืนกันไปในด้านบวก ได้แก่ ส่วนประกอบด้านมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นเลิศด้วยวิธีมูลค่าเพิ่มทุนอัจฉริยะ ด้านทุนขององค์กร และด้านการบรรลุผลสำเร็จทางธุรกิจ ทั้งสามปัจจัยจะทำให้เกิดผลของการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียนอันเป็นไปตามหลักการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการค้าในภูมิภาค (Connectivity) รวมทั้งควรการเปิดเวทีเพื่อให้บุคลากร และนักลงทุนด้านการจัดตั้งสายการบินได้มีส่วนร่วมการเสนอแนวคิด และ แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกัน เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่จะนำมาต่อยอดในการการสร้างนวัตกรรมด้านใหม่ ๆ ต่อไป ให้กับการจัดตั้งสายการบินร่วมอาเซียนนี้ ดังจะเห็นได้ว่าทุนขององค์กร มีการเน้นหนักด้านการลงทุนในส่วนของพัฒนาเทคโนโลยี และการพัฒนารูปแบบสิทธิบัตร รวมทั้งการจัดเก็บฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม เป็นสำคัญ

 

 

References

รายการอ้างอิง/References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการ
วิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
,น. 32, 84.
เพ็ญแข ศิริวรรณ. 2546. สถิติเพื่อการวิจัยโดยใช้คอมพิวเตอร์ (SPSS Version 10.0). (พิมพ์ครั้งที่
2). ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2551. เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ (คู่มือนักวิจัยและนักศึกษาระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอก) :
หลักการ วิธีการ และการประยุกต์ = Multivariate techniques for social and behavioral
sciences research (handbook for researchers and graduate students) : principles,
methods and applications. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา, น. 224-227.
สุวิมล ติรกานันท์. 2550. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, น. 44-46.
เสนีย์ สุวรรณดี. 2561. ไทยโพสต์, บุคลากรการบินขาดแคลนหนัก เร่งปั้นคนด่วนหวั่นแผนฮับ
การบิน สะดุด,วันที่สืบค้นข้อมูล 1 มกราคม 2562 แหล่งที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/5201
Arbuckle. J. J. 1995. AMOS user, s guide. Chicago: Small Waters Corporation, p. 529.
Bollen, K. A. 1989. Structure equations with latent variables. New York: John Wiley &
Sons, pp. 257-258
Brown, M. W. & Cudeek.R. 1993. Alliterative ways of assessing model fit, in testing
Structural equation model. New Jersey: Sage Publication, p. 270.
Byrne, Barbara M. 2001. Structural equation modeling with AMOS: basic concepts, applications, and programming. Hahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, p. 89.
Cochran, W. G. 1977. Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons,
pp. 1-2.
Cronbach, L. J. 2003. Essential of Psychology Testing. New York: HarperCollins Publishers, p. 204.
Hoogland, J. J., & Boomsma, A. 1998. Robustness studies in covariance structure
modeling: An overview and a meta-analysis. Sociological Methods & Research, Vol. 26, pp. 329–367.
Hu & Bentler. 1999. Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis:
Conventional criteria versus new alternatives, Structural Equation Modeling,
6(1), 1-55. Jasmina Ognjanović. (2017) “Relations of Intellectual Capital Components in Hotel
Companies” University of Kragujevac, Faculty of Hotel Management and Tourism in
Vrnjačka Banja
Joreskog. K. G. & Sorbom. D. 1993. Lisrel 8: Structural Equation Modeling with the
Simplis command language. Chicago: Software International, p. 26.
Kelloway, E. Kevin. 1998. Using LISREL for structural equation modeling. New Jersey:
Sage Publication, p. 45.
Kline, P. 1994. An easy guide to factor analysis. London & New York: Routledge, p. 84.
Kotler, P. & Keller, K. 2006. Marketing and Management. New Jersey: Pearson Prentice
Hall, pp. 50-51.
Saris. W. E. & Strenkhorst. L. H. 1984. Causal modeling non experimental research :
An Introduction to the lisrel approach. Dissertation Abstract International.
47(7), 2261-A.
Silván, Marika. 1999. A model of adaptation to a distributed learning environment.
Pro Gradu Thesis in Education, Department of Education, University of
Jyväskylä, p. 42.
Zeithaml, V. A. 1988. Consumer perceptions of price, quality, and value: A means-
end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)