แนวทางและการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น กรณีศึกษาธุรกิจผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเอกชนแบบควบคุมอุณหภูมิภายในประเทศ บริษัท ABC
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น, การลดต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น, เย็น แนวทางการลดต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น, การลดความสูญเปล่าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น และแนวทางการลดต้นทุนการขนส่งทางถนนด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น กรณีศึกษาธุรกิจผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเอกชนแบบควบคุมอุณหภูมิภายในประเทศ บริษัท ABC ในพื้นที่การจัดส่งทั้งหมด 5 พื้นที่ โดยใช้หลักการความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) เพื่อการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและใช้หลักการ ECRS ในการพิจารณาปัญหาในแต่ละกิจกรรม งานวิจัยนี้ พบว่า ปัญหาที่กระทบต่อต้นทุนรวมมากที่สุด คือ เกิดความสูญเปล่าการรอคอย สูญเสียเวลาการรอคอยระหว่างการรอโหลดสินค้าขึ้นรถขนส่งสินค้าด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น ไม่ได้เตรียมทำความเย็นมาในระดับอุณหภูมิที่กำหนดมาล่วงหน้า (Pre-Cooling) ส่งผลให้ไม่สามารถรับสินค้าเพื่อจัดเรียงสินค้าภายในรถขนส่งได้ และส่งผลให้บริษัทกรณีศึกษา ABC เกิดค่าเสียโอกาสการรับงานเพิ่มในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อต้นทุนเที่ยวกลับ (Back Haul Cost) และมีผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งรวมทางถนนทั้งหมดในด้านต้นทุนเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่กระทบต่อต้นทุนผันแปรด้านอัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของยานพาหนะ ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปรตามระยะทางที่รถวิ่ง (VC2) แนวทางการแก้ไขควรจัดลำดับกระบวนการทำงาน (Rearrange) ปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้ข้อมูลไหลลื่นตั้งแต่กระบวนการรับคำสั่งซื้อสินค้าจนถึงกระบวนการวางแผนการจัดส่ง ควรมีจัดเตรียมระบบ Systems หรือ Application เพื่อลิงค์ข้อมูลให้มีความรวดเร็วสะดวก Real Time มากยิ่งขึ้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลหลังการปรับพื้นที่บริการตามปัจจัยด้านเวลาที่ใช้ในการขนส่งพิจารณาระยะทางที่น้อยที่สุด ต้นทุนต่ำที่สุดตามแนวคิด Cost Saving ส่งผลมีการตัดสินใจเลือกพื้นที่การให้บริการขนส่งสินค้าจากทั้งหมด 5 เส้นทาง ลดลงเหลือเพียง 4 เส้นทาง การวิเคราะห์ผลด้านต้นทุนพบว่า ต้นทุนขนส่งรวมทั้งหมดของพื้นที่การให้บริการขนส่งสินค้า กรณีศึกษาธุรกิจผู้ประกอบการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิภายในประเทศ บริษัท ABC ด้วยรถกระบะแบบควบคุมอุณหภูมิประเภท 4 ล้อ ต่อเดือนก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 10,564.87 บาทและต้นทุนการขนส่งรวมต่อเดือนหลังการปรับปรุงลดลงเท่ากับ 3,734.89 บาท ต้นทุนขนส่งรวมทั้งหมดลดลงได้เท่ากับ 6,829.98 บาท คิดเป็นร้อยละ 35% สามารถเพิ่มจำนวนเที่ยวการขนส่งเพิ่มขึ้น ผลจำนวนเที่ยวก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 52 เที่ยวต่อเดือน ผลจำนวนเที่ยวหลังการปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 63 เที่ยวต่อเดือน หลังการปรับปรุงสามารถเพิ่มรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้า (Transportation Charge Income) ต่อเดือน เท่ากับ 495,180.00 บาท จากผลก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 409,448.00 บาท ก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุงมีรายได้เพิ่มขึ้นกันเท่ากับ 85,732.00 บาท คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 9%
References
Department of Land Transport. 2019. คู่มือมาตรฐานคุณภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและ อาหารด้วยรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิ (Q Cold Chain). Retrieved January 4, 2024 from https://www.thaitruckcenter.com/tdsc/ViewFile?fpath=FileNews&sname=1808333316.p df&fname=1808333316.pdf
Khotchawong, N. and Rakkharn, S. 2021. Cost Reduction in Logistics Service Provider Business. Journal of Science and Technology. Sukhothai Thammathirat Open University. Vol. 1. No. 1. 39-52.
Namsri, S. 2020. A Feasibility Study of Investment in Purchasing Truck Instead Of Hiring Outsourcing: A Case Study of Freight Forwarder Company. Master of Science in Logistics and Supply Chain Management. Faculty of Logistics. Burapha University.
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC). 2021. Thailand’s Logistics Report 2021. Retrieved January 18, 2024 from https://www.nesdc.go.th/download/logistics/report/2564/LogisticsReportTH.pdf
Pongsub, R. 2021. Vehicle Routing Arrangement for Automotive Parts: A Case Study Of Automotive Parts Transport Company. Science in Logistics and Supply Chain Management. Faculty of Logistics. Burapha University.
TTB Bank. 2022. TTB Analytics คาดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีแตะ 14.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค. Retrieved January 20, 2024 from https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/logistics-gdp
Untimakhun, S. 2017. The Factors Influencing Rail Transport For Export of Clinker And Import of Coal within the Industrial Area of Saraburi Province. Master of Management of College of Management. Mahidol University.
Wajanawichakon, K., Srisawat, P. and Thippo, W. 2016. Efficiency Improvement of the Pottery Production Process to Reduce Waste and Increase the Production Quality: Case Study of HUAYWANGNONG Pottery Group, Ubonratchathani. UBU Engineering Journal. Vol. 9. No. 1. 38-46
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น