ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Authors

  • พรทวี เถื่อนคำแสน สาขาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน

Keywords:

แรงจูงใจ, การตัดสินใจ, พนักงานระดับปฏิบัติการ, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด, Motivation, Decision Making, Operation-Level Employees, Hemaraj Eastern Seaboard Industrial Eatate

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระดับรายได้ต่อเดือน และอายุการทำงาน 2) ปัจจัยด้านจูงใจ ได้แก่ ลักษณะงาน การยกย่องนับถือ ความสำเร็จของงาน และความก้าวหน้าในอาชีพ และ 3) ปัจจัยคํ้าจุน ได้แก่ นโยบายและการบริหาร เงินเดือน ความมั่นคงในการทำงาน และสภาพการทำงาน

ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม เหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าตามสัดส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวน 10 บริษัท บริษัทละ 40 ชุดและใช้วิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้ T-Test ใช้ F-Test (One way ANOVA) และใช้ Multiple Regression Analysis

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานเป็นเพศชาย ร้อยละ 77.75 มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 69.50 มีระดับการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 47.50 มีสถานภาพสมรสแต่งงาน ร้อยละ 51.75 มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท ร้อยละ 60.75 และ มีอายุการทำงาน 4-5 ปี ร้อยละ 40.50 พบว่าระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานที่แตกต่างกัน ด้านปัจจัยจูงใจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง พบว่าปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานในระดับตํ่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ปัจจัยคํ้าจุนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง พบว่าปัจจัยคํ้าจุนด้านสภาพในงานมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานอยู่ในระดับตํ่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

 

FACTORS INFLUENCING TO THE MOTIVATION IN DECISION MAKING OF OPERATION-LEVEL EMPLOYEES IN HEMARAJ EASTERN SEABOARD INDUSTRIAL EATATE, RAYONG PROVINCE

The objectives of the study were to find out the 1) Demographic factors including sex, age, educational level, marriage status, monthly income and working service period, 2) Motivators factors including job characteristics, job achievement and career advance, and 3) Hygiene factors including policy and management, salary, job security and working condition.

Research methodologies a sample of 400 cases were drawn from the operational employees who were working in Hemaraj Eastern Seaboard Industrial Estate, Rayong province. The sample was selected by using Non Probability Sampling method with Quota Sampling in proportion of the industry groups in the industrial estate; 10 companies and 40 questionnaires per each company with the Convenience Sampling. Data was analyzed by using the percentage, frequency, standard deviation, and collected data from questionnaires with T-Test, F-Test (One way ANOVA), and Multiple Regression Analysis.The objectives of the study were to find out the 1) Demographic factors including sex, age, educational level, marriage status, monthly income and working service period, 2) Motivators factors including job characteristics, job achievement and career advance, and 3) Hygiene factors including policy and management, salary, job security and working condition.

The results of the study were as follows ; population of operational workers were male 77.75%, aged between 20-30 yrs 69.50%, educational level of diploma or equivalent 47.50%, married status 51.75%, monthly income between 15,001 – 25,000 baht 60.75%, working service period between 4-5 years 40.50%. Differences of educational levels had impacted to their decision making on job selection in different ways. The motivator factors had influenced at moderate level for job selection. Job achievement had less relation to the job selection with correlated in the same direction. And the hygiene factors affected to job selection at moderate level. Working condition had related to their job selection at low level with correlated in the same direction.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)